เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567, 17 –25 AUG

อัพเดทและเที่ยวชมงาน

20 PROGRAM HIGHLIGHTS ที่พลาดไม่ได้ ใน Pakk Taii Design Week 2024

20 PROGRAM HIGHLIGHTS ที่พลาดไม่ได้ ใน Pakk Taii Design Week 2024คัดสรร 20 โปรแกรมไฮไลต์ จากจำนวนโปรแกรมทั้งหมดกว่า 170 โปรแกรมใน Pakk Taii Design Week 2024 ที่กลมกล่อม ครบรส หลากหลายมุมจุดเด่นของปักษ์ใต้นอกจากจะจัดเต็มในจำนวนโปรแกรมแล้ว เรื่องรูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาก็ไม่ธรรมดาพบกันวันที่ 17 – 25 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดสงขลา หาดใหญ่ หาดสมิหลา จะนะ และปัตตานีร่วมกับเครือข่ายอีก 14 จังหวัดในภาคใต้มีโปรแกรมไฮไลต์โดนๆ อีกมากมายสามารถดูทุกรายละเอียดโปรแกรมได้ที่ pakktaiidesignweek.com/ptdw2024 มะเทเบิ้ล Pop-up Canteen I Yala Icon และ กลุ่มลูกเหรียงโรงอาหารป๊อบอัพสไตล์ Home Cooking มารู้จักวัฒนธรรมการกินสุดวาไรตี้แบบชาวปักษ์ใต้ การผสมผสานหลากหลายวิถีทั้งไทยพุทธ ไทยจีน ไทยมุสลิม มลายู เปอรานากัน และชาวเล รวมกว่า 135 เมนู จาก 11 ชุมชน ตลอด 9 วัน นอกจากชวนลิ้มชิมรสฝีมือของ ‘มะ’ รสชาติแบบฉบับต้นตำรับใต้แท้ๆ สูตรจากครัวกันแล้ว ยังได้ซึมซับเรื่องราว พร้อมด้วยกิจกรรมพิเศษ17 – 25 ส.ค. 67 l 10.00 – 18.30 น.สถานที่ มะเทเบิ้ลพาวิลเลียน (ปกรณ์ อาร์คิเทค ถนนนครนอก)Samila Odyssey สมิหลาเชิงซ้อน I วิรุนันท์ ชิตเดชะ ไพลิน ถาวรวิจิตร และ อาทิตยา นิตย์โชติสัมผัสเรื่องราวผ่านชั้นของเวลา อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่มีจุดตั้งต้นจาก “สมิหลา” ด้วยการตีความเทคนิคภาพเชิงซ้อน ความคิดสร้างสรรค์สุดแฟนตาซีของยุค 2500 จนไปสู่ชิ้นงานที่ชวนตั้งคำถามถึงมุมมองของสาธารณะที่มีต่อชายหาดสมิหลา และย่านเมืองเก่าสงขลา ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารถึงโลกในวันพรุ่งนี้17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ โรงเรียนสตรีวชิรานุกูล สงขลาScreening l โปรแกรมฉายหนัง I MicroWAVE FILM FESTivalภาพยนตร์หลากหลายแนวถูกหยิบยกมาฉายในสถานที่ต่างๆ ทั่วสงขลา หลายโลเคชั่นมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวภายใต้ 3 แนวคิด1. The Shorts เวทีฉายหนังสั้นของนักศึกษาภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คัดพิเศษ จำนวน 20 เรื่อง2. The South’s ฉายภาพยนตร์ไทยหลายยุค หลายอารมณ์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาคใต้ และถ่ายทำในภาคใต้3. The Specials ภาพยนตร์ที่ถูกเลือกมาพิเศษ เพื่อเปิดโลกความคิดสร้างสรรค์17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ โรงสีแดง หับ โห้ หิ้นเล่าตามตรอก บอกตามประตู I Cloud-floor X ผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อป X orbi designตามหาเรื่องราวที่ซุกซ่อน และน่าจดจำเกี่ยวกับย่านเมืองเก่าสงขลาในอดีต ที่อาจจะเคยได้ยินหรืออาจไม่เคยรู้มาก่อน จากคำบอกเล่าของคนในย่านและอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ โดยกิจกรรมนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจในพื้นที่ได้ร่วมนำเสนอประเด็นและถ่ายทอดเรื่องราวในรูปแบบการทำเวิร์คช็อป พร้อมตั้งคำถามเชิญชวนให้คนในและนอกพื้นที่ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวที่อาจเคยได้พบ ได้ยิน ได้อ่าน มาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อร่วมเล่าเรื่องของเมืองเก่าสงขลาไปด้วยกัน17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ ทั่วย่านเมืองเก่าสงขลาConversations l พูดคุยเรื่องภาพยนตร์ I MicroWAVE FILM FESTivalวงพูดคุยเรื่องภาพยนตร์ทั้งในและนอกวงการหนังที่หลายคนไม่เคยรู้ เรื่องราวเบื้องหลังก่อนฉายหนัง ‘The South’s’ ในประเด็นที่ไม่เคยเล่ามาก่อน จากบรรดาผู้กำกับ คนเขียนบท และนักแสดง รวมไปถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในวงการหนังที่น่าสนใจ จากคนเบื้องหลังหลากหลายสายงาน ทั้งไทยและต่างประเทศ17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น, Virung Coffee & BarLiving Dialogue l นิทรรศการเชิดชูบทหนังและถ้อยคำที่จับใจจากหนังปักษ์ใต้ I MicroWAVE FILM FESTivalเมื่อ Dialogue ของตัวละครเปรียบเสมือนลมหายใจของภาพยนตร์ สะท้อนชีวิตของตัวละครสู่ชีวิตของผู้คน ชวนเปิดบทสนทนากับผู้คนและพื้นที่ ผ่าน ‘ตัวหนังสือ’ และ ‘เสียง17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ a.e.y.space, โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น และ ทั่วย่านเมืองเก่าสงขลาLiving Cinema l การแสดงเสมือน (ชีวิต) จริง นอกจอหนัง I พวงสร้อย อักษรสว่าง, อวัช รัตนปิณฑะ, ณัฏฐ์ กิจจริต, ภูมิภัทร ถาวรศิริ,วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุลเริ่มต้นวันด้วย “เรื่องเล่าเคล้าน้ำชา” ฟังนักแสดงคุยกับผู้กำกับ เล่าเบื้องลึกเบื้องหลังประสบการณ์ของอาชีพนักแสดงทั้งในจอและนอกจอ ความสัมพันธ์ของบทบาทการแสดงและบทบาทในชีวิต และต่อด้วยการแสดงสด “อรุณใต้” ว่าด้วยความทรงจำในภาพยนตร์และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่ ปิดจบด้วยเวิร์กช็อปการแสดงที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทดลองเป็นนักเล่าเรื่อง17, 24 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 19.00 น.สถานที่ ฮับเซ่ง, ลานในศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, ศาลาวัดยางทอง, โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น และ a.e.y. Spaceติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม https://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/104005 ทำหรอย I Design PLANT X Southern Designerจากความหลากหลายของวัฒนธรรมอาหารภาคใต้ ที่ส่งทอดต่อกันมาเป็นภูมิปัญญาอาหารสะท้อนผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ กลุ่มนักออกแบบ ‘Design PLANT’ ร่วมกับนักออกแบบรุ่นใหม่ในสงขลา จึงหยิบจับเอา “ข้าวของเครื่องใช้ พื้นที่ และองค์ประกอบที่น่าสนใจ มาให้คำนิยามและตัวตนในบริบทใหม่” เพื่อให้ได้อาหารจานหรอย ถูกนำมาออกแบบเพื่อต่อยอดใหม่17 – 25 ส.ค. 67 l 10.00 – 18.30 น.สถานที่ บ้านสิงโตติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม https://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/103981นิทรรศการ South SITizen ลองนั่งแล I MOBELLA และ SARNSADพื้นที่เชิงประสบการณ์ที่ชวนคุณมานั่ง ชวนคุณมาแชร์และนั่งใช้เวลาด้วยกันในแบบฉบับชาวใต้ สื่อสารการผลิผลวัสดุพื้นถิ่นที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการถ่ายทอดมุมมองของนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านมืออาชีพที่ผูกพันและมีประสบการณ์ทำงานร่วมกับช่างฝีมือพื้นถิ่นมาหลายปีสู่รูปแบบสากล17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อยติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม https://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/104113Workshop Festivalพื้นที่รวบรวมนักสร้างสรรค์จากภาคใต้ เปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์ทั้งในและต่างพื้นที่ได้ทดลองผ่าน 11 กิจกรรมเวิร์คช้อปหลากหลายสาขา ช่วยให้เกิดการพบปะ แลกเปลี่ยน เชื่อมต่อ สร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนก่อร่างเป็นคอมมิวนิตี้เชิงสร้างสรรค์ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในพื้นที่ ขับเคลื่อนวงการศิลปะและงานออกแบบในอนาคต17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ a.e.y.space, DASDNN souvenir & selected shop, KOMO, GREEN MERCURY STUDIOติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/104161100 หรอย I KRUA.CO สารพันวัตถุดิบกว่า 100 อย่าง ที่มาของความ ‘หรอย’ ตำรับใต้ ซึ่งได้มาจาก ดิน แม่น้ำ และทะเลปักษ์ใต้ รวมถึงวัฒนธรรมที่ไหลผ่านการเดินทางของผู้คน เล่าเรื่องราวผ่านพื้นที่สร้างประสบการณ์ที่มาทำความรู้จักวัตถุดิบถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์ โดยใช้การชิมลิ้มรส พูดคุย หยิบจับ ดมกลิ่น ดู และฟัง พร้อมด้วยกิจกรรมพิเศษ ปิดท้ายด้วยการช็อปปิ้งของดีของเด็ดปักษ์ใต้ที่คัดสรรมาแล้ว17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ บ้านเขียนเจริญติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม  https://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/103601 ลักหยบ หลังร้าน I De’ Southชวนรู้จักอัตลักษณ์เรื่องราวความลับเบื้องหลังของเคล็ดลับ วัตถุดิบชั้นเยี่ยม และขั้นตอนการปรุง ของ 10 ร้านอาหารในตำนานหาดใหญ่ โดย 21 นักออกแบบ ที่ใช้งานออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ทำให้เห็นถึงความเป็นมา อัตลักษณ์อาหารหาดใหญ่ และความเชื่อมโยงระหว่างอาหารกับความเป็นเมือง เรื่องราวและเสน่ห์ที่ถูกซ่อนอยู่หลังร้านจะถูกลักหยบออกมา17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ เต้าคั่วป้าแต๋ว, อ้า, สุ่ยเฮง, ภัตตาคารวอชิงตัน, มันเดือย, โกตี๋โอชา, เอกข้าวต้มปลากะพง, อาเหลียงหม๋าล่า, ตำหรับมุสลิม, เจ๊เล็กติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/103573Under Constructionเพราะการก่อรูปก่อร่างต้องใช้เวลา สภาวะที่เรียกว่า “อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง” จึงเป็นกระจกสะท้อนอย่างดีของเหล่านักออกแบบรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบ ย้ายกลับบ้าน ตั้งต้นธุรกิจในแนวทางที่ตนเองสนใจที่แห่งนี้จะเสมือนพื้นที่ปล่อยของ พื้นที่ทางเลือกสำหรับน้องรุ่นใหม่ที่กำลังค้นหาตัวเองได้ลองลงมือทำ ลองล้มเหลว ลองสำเร็จ และสนุกไปด้วยกัน17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ ท่าน้ำศักดิ์พิทักษ์ และตรอกสงครามโลกติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/104161Samila Mermaid ทะเลต้องมนต์ เสียงสะท้อนนางเงือกสงขลาสู่โลก I Sumphat Galleryเรื่องเล่าของนางเงือกแห่งสงขลา ผ่านงานศิลปะจัดวาง Kinetic Art พร้อมกิจกรรมเวิร์กช็อปเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทำว่าวนางเงือกร่วมกับช่างหัตถกรรมว่าวท้องถิ่นสงขลา และจัดทำของที่ระลึก ทั้งว่าวกรวยลม ว่าวขนาดเล็ก ถุงเชือกกล้วยรูปหางปลา กระเป๋า โดยออกแบบเป็นรูปนางเงือกเพื่อสร้างเป็นภาพจำเป็นของที่ระลึกสำหรับหาดสมิหลา ปิดท้ายด้วยการแสดงระบำรองเง็ง เล่าเรื่องของนางเงือก17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ หาดสมิหลาติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม https://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/103419NEIGHBORS I TRIMODE STUDIOชุดรับแขกสาธารณะสำหรับย่านเมืองเก่าสงขลา ที่ได้รับความร่วมมือจากเพื่อนบ้านในย่านเมืองเก่านี้ในการส่งเก้าอี้มาต้อนรับแขกเมืองร่วมกัน เก้าอี้ที่ใช้งานได้และเก้าอี้ที่ชำรุดจากแต่ละบ้านให้เป็นพื้นที่ “เดินพัก” ไตรโหมดได้ออกแบบวิธีการผนึกรวมเก้าอี้เข้าด้วยกันโดยใช้เทคนิค วัสดุในท้องถิ่นของสงขลา เกิดเป็นสู่ชุดเฟอร์นิเจอร์บริบทใหม่สำหรับย่านเมืองเก่าสงขลา17 – 25 ส.ค. 67 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ ถนนยะหริ่ง, ถนนนางงาม, ตรอกโนราห์ ข้างร้านศรีโพธิ์ทอง ถ.นครนอกติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/103792Projection Mapping showcase I Yimsamer & Academicผลงานของนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในภาคใต้ 10 ทีม ภายใต้หลักสูตรการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการฉายภาพกราฟิกเคลื่อนไหวบนวัตถุ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เพื่อสร้างสีสันและกระตุ้นบรรยากาศสร้างสรรค์ให้กับเมืองและเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ในช่วงเวลากลางคืน17 – 25 ส.ค. 67 l 19.00 – 21.00 น.สถานที่ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลาติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024Songkhla in Transition: the Mid-Century Facade l สงขลาระหว่างกาล: โฉมหน้าสถาปัตย์กลางศตวรรษ I NA STUDIO X MELT DISTRICTงานศิลปะจัดวาง (Art Installation) จากวัสดุแผ่นพลาสติก recycle ของแบรนด์ MELT DISTRICT บอกเล่าเรื่องของเมืองสงขลาผ่านภาษาของงานสถาปัตยกรรม ที่เล่าถึงเรื่องราวและความรุ่มรวยของเมืองสงขลา ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของความเจริญ วัฒนธรรม วิถีการเดินทาง รวมไปถึงความยึดโยงระหว่างเมืองหาดใหญ่และสงขลา17 – 25 Aug 2024 l 11.00 – 21.00 น.สถานที่ ตรอกกรุงทองติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/1033384 STORIES OF SONGKHLA I FOS Lighting Design Studioเมื่อแสงช่วยเติมเต็มมิติให้กับสถาปัตยกรรม เมือง และผู้คน ผ่านการออกแบบระดับความสว่าง อุณหภูมิของแสง ผ่านมุมและองศาที่ถูกสร้างสรรค์มาเพื่อเติมเต็มบรรยากาศ ซึ่งไม่ได้บทบาทแค่เพื่อความสวยงาม แต่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เสริมสร้างความปลอดภัย และเน้นบริบทของเมืองในภาพรวมให้กลมกล่อมมากยิ่งขึ้น17 – 25 ส.ค. 67 l 19.00 – 21.00 น.สถานที่ ย่านเมืองเก่าสงขลาติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024คราฟต์ใต้ได้แรงอก | เครือข่ายสถาปนิกสร้างสรรค์และพัทลุงรุงรังบรรยากาศยามเย็นในลานวัด ทานอาหาร ชมงานฝีมือ ดื่มดํ่ามหรสพ ชวนมารู้จักคนใต้ผ่านงานฝีมือหลากหลายในวิถี พบกับพี่ป้าน้าอาในบรรยากาศเป็นกันเองในวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองคนสงขลา17-18, 24-25 ส.ค. 67 I 16.00-21.00 น.สถานที่ วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (วัดกลาง)ติดตามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมhttps://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024/program/104714_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก #20HighlightsPTDW2024

The Making of - Pakk Taii Neighbor

The Making of Pakk Taii Neighbor เมื่อคอมมูนิตี้ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความเป็นตัวตนให้โลกเห็นในแบบของตัวเองปักษ์ใต้ดีไซน์วีคเป็นแพลตฟอร์มและพื้นที่แห่งอิสระในการปล่อยของให้โลกรู้ว่าปักษ์ใต้บ้านเรามีดีแค่ไหน เป้าหมายหลักอีกอย่างหนึ่งของงานคือการเปิดพื้นที่เพื่อให้ทุกคน โดยเฉพาะชุมชน เครือข่ายนักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมกับในการพรีเซนต์ความเป็นบ้านเรา ในแบบฉบับของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวชีวิต วัฒนธรรม อาหาร หรือศิลปะ มีหลายชุมชนในภาคใต้ ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ งานนี้จะช่วยเล่าให้เรื่องราวเหล่านั้นไม่เพียงแต่อยู่ในพื้นที่ แต่สามารถข้ามพรมแดนออกไปให้ผู้คนได้เห็นและสัมผัสถึงวิถีชีวิตแบบปักษ์ใต้ที่แท้จริง เพราะความเป็นท้องถิ่นไม่ควรถูกจำกัดไว้เพียงแค่ในชุมชน แต่ควรจะเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและชื่นชมได้ใกล้ชิดนิทรรศการ (กิน) “ลาต๊ะ”: ภาษา อาหาร และการต่อยอด – เล่าเรื่องราว จากความสมบูรณ์ในทะเล จนนำมาสู่เรื่องสนุกในครัว ความรุ่มรวยทางภาษาเฉพาะถิ่น โดย นักรบผ้าถุง & อาหารปันรัก จากชุมชนจะนะ สงขลา“ลาต๊ะ” นิทรรศการที่นำเอาความสมบูรณ์ในท้องทะเล อาหารและภาษาถิ่นเฉพาะของชาว “สะกอม” มารวมกัน เพื่อสื่อสารให้คนภายนอกได้รู้จัก “จะนะ” มากกว่าแค่เมืองที่กำลังจะถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งอุตสาหกรรม เพราะนิทรรศการนี้จะทำให้เราได้รู้จักเมืองจะนะผ่านวิถีชีวิตของชาวบ้านโดยแท้จริงคำว่า “ลาต๊ะ”แปลว่ากินเล่น ที่มาของชื่อนี้มาจากการที่เมืองจะนะเต็มไปด้วยทรัพยากรอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อใครไปเที่ยวจะนะต้องได้กินอิ่มเสมอ จนเกิดเป็นคำเฉพาะพื้นที่ เมื่อกินอิ่มแล้วชาวจะนะจะบอกว่า “ลาต๊ะ” คือให้เรากินเล่น ๆ นั่นเอง นิทรรศการนี้พาเราไปรู้จักตั้งแต่แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ในอาหารแต่ละจานจากต้นทางสู่ปลายทาง จากการเล่าโดยชาวบ้านผ่านสำเนียงน่ารัก ๆ สนุกสนานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวจะนะ“ได้หัวกับสำเนียงสะกอม”  ใครเคยไปจะนะจะทราบดีว่าภาษาใต้ในแบบของจะนะนั้นไม่เหมือนที่อื่น ๆ มักจะมีความตลก น่ารักอยู่ในสำเนียงที่พูดเสมอ นิทรรศการนี้จึงนำเอา “ภาษาสะกอม” มาสอนผ่าน Sound Track ทั้งการเรียกชื่อในแบบคนจะนะ การพูดคำศัพท์เฉพาะของจะนะ การเอาตัวรอดหากอยากกินอิ่มที่จะนะ หากใครที่ได้ฟังก็ต้องอมยิ้มไปตาม ๆ กัน ให้กับความน่ารักของภาษาถิ่นที่ไม่เหมือนใครนิทรรศการนี้อาจไม่ได้เป็นนิทรรศการด้านศิลปะที่หวือหวา หรือแปลกใหม่จนน่าตกใจ มีวิธีการนำเสนอแบบธรรมดา ๆ ทำให้คนที่มาเยี่ยมชมได้มีส่วนร่วมกับนิทรรศการแบบง่าย ๆ ลองชิม ลองฟัง ลองดู แต่ทำให้ผู้ชมรู้จักเมืองจะนะมากขึ้นผ่านพื้นที่เล็ก ๆ ชวนให้คนอยากไปสัมผัสจะนะจริงๆ เพราะเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของนิทรรศการครั้งนี้คือต้องการให้คนภายนอกได้รู้จักเมืองจะนะ และสิ่งที่คนจะนะพยายามขับเคลื่อน คุณศุภวรรณ ชนะสงคราม หรือ พี่แก็ส หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มที่ขับเคลื่อนเมืองจะนะเล่ากับเราว่า “สิ่งสำคัญในการนำเสนอนิทรรศการครั้งนี้คือการส่งเสียงออกไปยังภายนอกให้รู้จักความน่ารัก วิถีชีวิตของจะนะมากขึ้น เพราะที่นี่กำลังจะกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรม การเข้ามาของอุตสหากรรมไม่เพียงแต่พรากทรัพยากรไปจากชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังพรากวิถีชีวิต ความน่ารักของชาวจะนะไปด้วย เพราะอาหารบางอย่าง วัฒนธรรมบางอย่างอาจสูญหายไปตลอดกาล จึงเกิดเป็นไอเดียในการอยากโชว์ของดีที่จะนะมีผ่านความรักของจะนะให้ทุกคนได้เห็น”Long Table ดินเนอร์ ยกระดับเมนูบ้านๆ สไตล์ ‘บ้านบน’ สู่โต๊ะดินเนอร์สวยงามน่ารับประทานพูดได้ว่าจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่ของการอยู่ร่วมกันของหลากหลายวัฒนธรรมก็ไม่ผิดนัก หากใครเคยเดินทางมาสงขลาก็สามารถสังเกตุได้ไม่ยากจากย่านเมืองเก่าสงขลา ที่มีทั้งวัด ศาลเจ้าและมัสยิดอยู่ร่วมกัน หนึ่งในชุมชนสำคัญของย่านเมืองเก่าสงขลาที่มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ “บ้านบน” ที่นี่เป็นชุมชนมุสลิมที่มีจุดเด่นเรื่องอาหารและการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม ครั้งนี้ชาวชุมชนบ้านบนจึงนำเสนอชุมชนของตัวเองผ่าน “อาหาร” ที่มีหลากหลายวัฒนธรรมมาผสมกัน บริเวณถนนหน้ามัสยิดบ้านบน ถูกจัดเป็นโต๊ะแถวยาวเพื่อเสิร์ฟอาหารพื้นบ้านที่ขายโดยชาวบ้านในตลาดบ้านบน แต่นำเสนอ ในรูปแบบของ “Chef table” เพื่อยกระดับเมนูอาหารของชาวบ้าน เพิ่มมูลค่าให้กับอาหารท้องถิ่น ถ่ายทอดเรื่องราวของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นลงในอาหารทุกจาน อาหารที่เคยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน กลับกลายเป็นผลงานศิลปะบนโต๊ะอาหาร ซึ่งไม่เพียงแต่อิ่มอร่อย แต่ยังสร้างความประทับใจและเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับรากเหง้าของตัวเองในรูปแบบที่งดงามยิ่งขึ้นเสิร์ฟอาหาร แบ่งเป็น 3 คอร์ส ตามแบบฉบับร้านอาหาร Fine Diningคอร์สแรกจะเปิดประสบการณ์การทานอาหารให้กับผู้ที่ได้ชิม ใน 1 จาน ประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด ได้แก่ หมี่กรอบที่เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา ขนมจีบไก่ในแบบมุสลิม สาคูไส้ไก่ และลูกชิ้นปลานึ่งราดซอสแดงที่หาทานได้แค่ที่สงขลาเท่านั้น ส่วนคอร์สหลักเป็นข้าวผัดแดง อาหารมื้อหลักที่ทานกันเฉพาะคนในพื้นที่บ้านบน นำข้าวสวยคลุกกับซอสสีแดง เคียงด้วยไก่ผัดหวาน หอมใหญ่ ไข่พะโล้ และน้ำพริกสูตรเฉพาะ ทานคู่กับซุปไก่ที่มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด ตบท้ายด้วยขนมหวานพื้นบ้าน ขนมครกน้ำแกงกะทิ และขนมกุหลี ขนมพื้นบ้านภาคใต้ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวคุณดนัย โต๊ะเจ หรือ พี่แม หนึ่งในตัวแทนชาวบ้านบนบอกกับทีมปักษ์ใต้ว่า “สิ่งสำคัญของการนำอาหารธรรมดา ๆ ที่ชาวบ้านมองข้ามมาทำในรูปแบบใหม่ เพื่อต้องการให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เห็นว่าอาหารของเขาสามารถถูกยกระดับไปได้ขนาดไหน และคนภายนอกที่มาเยียนได้เห็นถึงความเป็นมาของชุมชน การอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนบ้านบน”คราฟต์ใต้ได้แรงอก วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (วัดกลาง)วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร หรือ วัดกลาง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของชุมชนเมืองเก่าสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม วัดแห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สำหรับประกอบศาสนกิจ แต่ยังเป็นจุดศูนย์กลางของการรวมตัวและสืบทอดประเพณีของชุมชนเมืองเก่าสงขลาเปิดประสบการณ์การชมจิตรกรรมฝาผนังรูปแบบใหม่ กับการออกแบบแสงสี สำหรับงานจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างหลวงPakk Taii Design Week ในปีนี้วัดกลางสงขลา ได้นำเอาการจัดแสดง แสง สี เสียง ในอุโบสถวัดกลาง มาเป็นไฮต์ไลท์สำคัญในงาน การจัดแสงสีในวัดกลางสงขลาครั้งนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศให้วัดมีความน่าสนใจ มีการใช้เทคโนโลยีแสงสี ในบรรยากาศช่วงเวลาเย็นและค่ำ เพราะทางผู้ออกแบบตั้งใจว่าอยากให้วัดไม่เป็นเพียงแค่เป็นสถานที่สำหรับการทำบุญหรือจัดกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ที่คนรุ่นใหม่สามารถมาเพลิดเพลิน และรู้สึกดื่มด่ำไปกับศิลปะ วัฒนธรรมในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงโขน มโนราห์ และมีการนำงานคราฟต์หลากหลายจากจังหวัดพัทลุงมาจัดแสดง เช่น งานสาน สานเครื่องปั้นดินเผา แบรนด์เสื้อผ้าที่ทำโดยคนในชุมชน ให้ผู้เข้าชมได้เห็นถึงการต่อยอดสิ่งของงานพื้นบ้าน ให้มีความหลากหลายมากขึ้น คุณจเร สุวรรณชาต หนึ่งในทีมงานที่ขับเคลื่อนวัดกลาง สงขลา เล่ากับทีมปักษ์ดีไซน์วีคว่า “เป้าหมายของวัดในปีนี้มีเพียงไม่กี่อย่าง คือ ต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับวัดมากขึ้น กระจายรายได้ให้คนในชุมชนรอบข้าง และต้องการให้คนไกลบ้าน หรือคนรุ่นใหม่มีโอกาสหรือใช้โอกาสนี้ได้การกลับบ้าน นักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ได้เข้ามาในวัดกลางมากขึ้น แทนที่จะไปเที่ยวคาเฟ่ ถ้าเราทำให้วัดเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น วัดจะมีความน่าสนใจสำหรับคนรุ่นใหม่มากขึ้น”_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

The Making of ลอง-นั่ง-แล Mobella x Sarnsard

The Making of ลอง-นั่ง-แล Mobella x Sarnsard : เมื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นกว่า 15 ชนิด ถูกหยิบมาสื่อสารผ่านงานเฟอร์นิเจอร์เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของงาน Pakk Taii Design Week คือการนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีความร่วมสมัย และจับต้องได้ ครั้งนี้ปักษ์ใต้ดีไซน์วีค มีโอกาสได้ร่วมงานกับ 2 แบรนด์ที่มีจุดเด่นเรื่องการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับให้ทันสมัยเข้ากับไลฟ์สไตล์ปัจจุบันนั่นคือ Mobella และ Sarnsardในปีนี้ทั้ง 2 แบรนด์เลือกใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นกว่า 15 ชนิดมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ เชือกกล้วยจากกอร์ตานี ผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย จ.สงขลา หนังตะลุงจากกลุ่มอาชีพผลิตแกะหนังตะลุงกลุ่มรักษ์คอน จ.นครศรีธรรมราช หางอวนจากกลุ่มผลิตภัณฑ์หางอวนบ้านหน้าทับ จ.นครศรีธรรมราช ใบเตยปาหนันจาก Sansard และ คราฟท์ เดอะ ฟิวเจอร์ จ.ตรัง ลูกปัดมโนราห์จากลุ่มลูกปัดมโนราห์นาโยง ผ้าบาติกจาก Batik de Nara จ.ปัตตานี กะลามะพร้าวจาก GRAND GALA จ.พัทลุง กระจูดจาก Varni Craft จ.พัทลุง ผ้าบาติกสีธรรมชาติจากกลุ่มมัดย้อมผ้าสีธรรมชาติบ้านคีรีวง ผ้าทอซาโอริจากวิสาหกิจชุมชนผ้าซาโอริ จ.พังงา ผ้าเปอลางีจาก Adel Kraft จ.ยะลา ยางพารารีไซเคิลจาก PlanToys จ.ตรัง บาติกข้าวจาก InnoYa Batik จ.นครศรีธรรมราช เปลือกไข่จากอุตสาหกรรมไข่เค็มจากบริษัท ไซไนต์ อินโนเวทีฟ เซอร์เฟสเซส จำกัด จ.สุราษฏร์ธานี เส้นยางพาราจากวิสาหกิจชุมชนจักสานยางพารา จ.สตูลคุณมนัสนันท์ ทวีวรสุวรรณ ตัวแทนจากแบรนด์ Sarnsard เล่าให้ฟังว่า “เราต้องการอยากโชว์วัสดุจากท้องถิ่นของภาคใต้ในรูปแบบใหม่ที่คนไม่เคยเห็น เพราะโดยปกติเราอาจจะเห็นวัสดุท้องถิ่นในรูปแบบงานคราฟต์ทั่วๆ ไป อาจจะมีความ Local มากๆ เช่น กระเป๋า พัดด้าม หมวกสาน ที่ขายตามชายหาด แต่เรานำมาตีความใหม่ให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ หาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับวัสดุจากท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นเองได้เห็นว่าวัสดุที่เขาเห็นทั่วๆ ไปสามารถต่อยอดได้มากขนาดไหน”เช่นเดียวกับ คุณอนุพล อยู่ยืน ตัวแทนจากแบรนด์ Mobella “นอกจากโปรเจกต์นี้จะทำให้คนในพื้นที่ได้เห็นว่าวัสดุท้องถิ่นสามารถต่อยอดไปได้แค่ไหนแล้ว อีกหนึ่งความตั้งใจของทีมคือการต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น การนำลูกปัดมโนราห์เม็ดเล็กๆ ที่ปกติจะมีแค่คนเฒ่า คนแก่ ในชุมสามารถร้อยได้ แต่ในปัจจุบันบางคนไม่สามารถทำได้แล้วเพราะการมองเห็นลดลงตามอายุ การนำลูกปัดมาดีไซน์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้งานได้ง่ายขึ้น อาจช่วยขยายกรอบเวลาให้ภูมิปัญญาสามารถไปต่อกับคนรุ่นใหม่ได้ หรือลายบาติกนำมาปรับแพทเทิร์นทำลายใหม่เป็นลายหินอ่อน ให้มีความ Modern มากขึ้น การทำตรงนี้ไม่เพียงแต่ต่อยอดมูลค่าของวัสดุ แต่ยังทำให้ดีไซน์เนอร์คนอื่นๆ เห็นโอกาสในการใช้วัสดุท้องถิ่นในการออกแบบมากขึ้นด้วย”Yara (ยารา) เก้าอี้ไม้รีไซเคิลผสมกับยางพารา ดีไซน์เนอร์เลือกใช้วัสดุจากยางพารา พืชเศรษฐกิจของภาคใต้ที่มีอยู่ในทุกจังหวัดโดยได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากดอกยางที่เป็นแฉกๆ และใช้สีสันสดใสล้อไปกับสีสันของภาคใต้At-Taqwa (อัตตักวา)อัตตักวา อ่านว่า อั๊ด-ตั๊ก-วา เก้าอี้ตัวนี้หากมองเผินๆ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่านี่คือเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่นอะไร ด้วยรูปทรงที่คล้ายกับเก้าอี้ แต่มีผนักด้านหน้า เก้าอี้ตัวนี้คือ “เก้าอี้ละหมาด” ที่ทำมาจากโครงเก้าอี้เก่านำมาดัดสภาพใหม่ เพื่อใช้สำหรับชาวมุสลิมที่เป็นผู้พิการหรือผู้สูงอายุ ให้สามารถประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ โดยลายที่พิมบนผ้านั้นเป็น ผ้ามัดย้อมปั๊มลายบาติก ได้รับแรงบันดาลใจมาจากมัสยิดกลางของภาคใต้ นอกจากนั้นเก้าอี้ตัวนี้ยังมีฟังก์ชั่นอื่นนอกเหนือจากการละหมาด เช่น สามารถใช้อ่านอัลกุรอานด้วยการวางหนังสือไว้ด้านหน้า หรือสามารถถอดพนักพิงด้านหน้าเพื่อเป็นเก้าอี้สำหรับนั่งปกติได้ด้วย นับเป็นการออกแบบที่น่าสนใจเพราะนอกจากจะได้ความสวยงามและฟังก์ชั่นแล้ว ยังซ่อนรายละเอียดที่คิดถึงการใช้งานของผู้พิการและผู้สูงอายุไว้อีกด้วยKood-kud (คุดคัด)เก้าสตูดิโอโอตัวนี้ใช้วัสดุจากเตยปาหนัน จ.ตรัง นำมาเปลี่ยนภาพจำใหม่จากเตยปาหนันที่นิยมนำมาทำกระเป๋าสาน ย้อมสีสันฉูดฉาด มาปรับลวดลายและสีสันใหม่ ให้มีความคลาสสิกและโมเดิร์นมากขึ้น ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากมังคุด พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้Ma-Hin (ม้าหิน)หากมองเผินๆ ดูภาพที่เห็นนี้อาจจะเป็นเหมือนม้านั่งหินอ่อนธรรมดา แต่นี่คือ ม้านั่งที่ทำมาจากผ้าย้อมสีธรรมชาติ ความน่าทึ่งของชิ้นงานไม่ได้อยู่ที่การใช้วัสดุทดแทนหินอ่อนเท่านั้น แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบที่สามารถทะลุกรอบเดิมๆ ที่เราเคยเห็นและคุ้นเคย ม้านั่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากความงดงามของหินอ่อน แต่ถูกตีความใหม่ผ่านวัสดุที่เบากว่า งานดีไซน์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของนักออกแบบในการนำเสนอสิ่งที่ทั้งสวยงามและทันสมัยผ่านการผสมผสานระหว่างธรรมชาติและศิลปะในยุคปัจจุบันLUCAเก้าอี้ตัวนี้ทำจากผ้าซาโอริ โดยฝีมือของช่างทอผู้พิการในชุมชน นำมาออกแบบให้เป็นลายอวกาศ ใช้โทนสีเข้มทำให้ดูคลาสสิก แทนภาพจำของผ้าซาโอริที่เป็นสีสันสดใส ส่วนพนักพิงเก้าอี้ถูกสร้างขึ้นจากการสานใบเตยปาหนันให้เป็นทรงกระบอกที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ เพื่อโชว์ให้เห็นคุณสมบัติของเตยปาหนันที่มากกว่าแค่เอามาสานเป็นแผ่นเท่านั้น แต่ยังสามารถดัดแปลงรูปทรงหรือสานเป็นเส้นได้อีกด้วย Bamixชุดโซฟาตัวนี้มีดีไซน์การออกแบบและการใช้วัสดุท้องถิ่นจากภาคใต้ เป็นตัวแทนผ้าบาติกจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยมีโซฟา 4 ตัว เป็นลายบาติกที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด คุมโทนสีดำเล่นกับแพทเทิร์นที่ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง แม้ว่าลวดลายจะต่างกันแต่มีความเข้ากันได้เมื่อวางเป็นชุดโซฟา สัญญะทางงานออกแบบที่ซ่อนไว้คือต้องการสื่อสารถึงภาพจำของผ้าบาติกว่าไม่จำเป็นต้องมีสีสันสดใสเสมอไป หากลองปรับให้เข้ากับบริบทของความเรียบง่าย สไตล์มินิมัลลิสต์ มีการจัดวางองค์ประกอบอย่างลงตัว ไม่ว่าจะวางอยู่ในมุมไหนของบ้านก็ยังสวย เข้ากับเทรนด์สมัยใหม่ ยกระดับและเปลี่ยนภาพจำของวัสดุท้องถิ่นได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจเฟอร์นิเจอร์ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2024 ยังมีเฟอร์นิเจอร์อีกมากมายที่ถูกคิดมาอย่างพิถีพิถันทั้งการดีไซน์และเรื่องราว สิ่งสำคัญของการต่อยอดวัสดุท้องถิ่น คือการมองเห็นคุณค่า จากของบางอย่างที่เราอาจรู้จักหรือเห็นผ่านตาจนชินในชีวิตประจำวันอย่างเช่น ยางพารา กระจูด ผ้าบาติก แต่วันนี้ทั้ง Mobella และ Sarnsard ทำให้เห็นแล้วว่า การหยิบเอาสิ่งของที่ธรรมดาๆ มาเพิ่มมูลค่าสามารถทำได้จริง รวมถึงชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดคุณค่าของวัสดุใกล้ตัวให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของตลาด นำมาซึ่งการจุดประกายทางระบบนิเวศสร้างสรรค์ซึ่งกันและกัน มากไปกว่านั้นยังทำให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ไม่ว่าจะในพื้นที่หรือนอกพื้นที่สามารถมองเห็นและนำวัสดุท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย สิ่งนี้เปรียบเสมือนเป็นการนำเสนอฉากทัศน์ใหม่ให้กับวัสดุในท้องถิ่นบางอย่างที่กำลังหายไปจากชุมชนได้เป็นอย่างดี_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

The Making of Samila Odyssey นิทรรศการสมิหลาเชิงซ้อน

สำรวจกาลเวลาไปกับนิทรรศการ Samila Odyssey ตำนานภาพถ่ายเชิงซ้อนของ ‘โกขาว’ และองคาพยพในเมืองสงขลาความจริงแล้ว นิทรรศการสมิหลาเชิงซ้อน (Samila Odyssey) มีจุดเริ่มต้นและจุดจบบนชายหาดสมิหลาที่มีนางเงือกเป็นจุดแลนด์มาร์กซึ่ง ‘ชายหาดสมิหลา’ คือพระเอกตัวยงในนิทรรศการสมิหลาเชิงซ้อน ด้วยการหยิบยกประวัติศาสตร์ของ ‘ภาพซ้อนหรือภาพศิลป์ (Combination Printing) ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงปี พ.ศ. 2500 ในสมัยที่ ‘โกขาว–สวัสดิ์ เชิญสวัสดิ์’ เจ้าของร้านถ่ายรูปไทยศิลป์ (ร้านถ่ายรูปทันใจ) แห่งแรกในไทย ได้ทำธุรกิจถ่ายรูปให้นักท่องเที่ยวบนชายหาดสมิหลาเก็บไว้เป็นที่ระลึก อาจพูดกลายๆ ได้ว่านิทรรศการนี้เสมือนการผจญภัยกลับสู่อดีตของโกขาว–ช่างภาพในยุครุ่งเรืองของร้านถ่ายรูปทันใจ นอกจากผลงานและประวัติของโกขาวที่ถูกเล่าผ่านงานภาพถ่ายในนิทรรศการสมิหลาเชิงซ้อน ยังมีเรื่องราวที่ต่อยอดไปสู่องคาพยพในสงขลา ที่ออกแบบนิทรรศการและคิวเรตโดย ‘โต้–วิรุนันท์ ชิตเดชะ’ ช่างภาพมือรางวัลระดับเมืองคานส์ ควบการเป็นอาจารย์สอนคณะสถาปัตย์ที่ลาดกระบัง หนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนการถ่ายภาพอย่าง ‘โรงเรียนสังเคราะห์แสง’ หรือบรรณาธิการทำสื่อนิตยสารออนไลน์ชื่อว่า ‘D1839’ ที่นำเสนอเกี่ยวกับแวดวงการถ่ายภาพในไทย และเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์แบรนด์กล้องถ่ายรูปอย่าง Leica ทีแรกโต้ถูกชักชวนจาก ‘เอ๋–ปกรณ์ รุจิระวิไล’ เพราะเอ๋สนใจในลักษณะของภาพถ่ายเชิงซ้อน (อย่างที่เห็นก็คือคนเหาะเหินเดินอากาศ บ้างก็เป็นรูปคนย่อส่วนอยู่ในขวดโหลแก้ว) เอ๋เลยชักชวนโต้มาร่วมจัดนิทรรศการภาพถ่ายเชิงซ้อนในงาน Pakk Taii Design Week ในปีนี้ รวมถึงทีมอาจารย์ไพลิน ถาวรวิจิตร และอาจารย์อาทิตยา นิตย์โชติ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ‘น้าชำ’ หรือ ‘ชำนิ ทิพย์มณี’ ของน้องๆ ในวงการถ่ายภาพในเมืองไทย ด้วยการผจญภัยไปสู่อดีตที่เล่าเรื่องผ่าน ‘กาลเวลา’ จากปัจจุบัน กลับไปหาอดีต และผจญภัยไปสู่อนาคต การเลือก ‘สถานที่’ ต้องแวดล้อมให้เกี่ยวพันในยุคอดีตเสียส่วนใหญ่ด้วย นิทรรศการนี้จึงยกมาจัดแสดงในโรงเรียนสตรีวชิรานุกูล บนถนนรามัญในย่านเมืองเก่าสงขลา ภายในห้องเรียน 7 ห้อง รวมทั้งหมด 7 ผลงาน ซึ่งโต้บอกว่า นิทรรศการที่จัดแสดงในโรงเรียนเปรียบเสมือนตัวเขาได้เข้าไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และอยากให้คนทั่วไปได้เรียนรู้และเพลิดเพลินเหมือนกันกับเขา‘โกขาว’ ผู้บุกเบิกการถ่ายภาพซ้อนแห่งแรกในไทย“จะว่าไป จุดประสงค์หลักของงานคือการเชิดชูโกขาวให้เป็นที่รู้จัก ว่าจริงๆ แล้วจากภาพถ่ายธรรมดาๆ จนนำไปสู่อีกเทคนิคหนึ่งนำไปต่อยอด สร้างผลงาน และบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้” นั่นคือคำสรุปรวบย่อของโต้ที่เขาเสริมอีกว่า ภาพถ่ายเชิงซ้อนมีความมหัศจรรย์และครีเอทีฟในตัวเอง แต่ก็ยังมีคนพูดถึงกันน้อยมาก ซึ่งโกขาวคือผู้บุกเบิกผลงานภาพถ่ายเชิงซ้อนระดับมาสเตอร์พีซของเมืองไทย เขาว่าอย่างนั้นพูดถึง ‘โกขาว’ เดิมเป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2469 ครอบครัวโกขาวเป็นคนจีนที่อพยพมาปักหลักในไทย เมื่อก่อนทำอาชีพรับผ้าจากพาหุรัดไปเร่ขายตามต่างหวัด จนเมื่อปี พ.ศ. 2492 โกขาวเดินทางมายังหาดสมิหลาแล้วเห็นช่องทางทำธุรกิจรับถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เพราะเห็นนักท่องเที่ยวเยอะ เลยตัดสินใจกลับไปเรียนถ่ายรูปที่กรุงเทพฯ สองปีต่อมาโกขาวได้เปิดร้านถ่ายรูปสมใจชื่อว่า ‘ไทยศิลป์’ ร้านแรกในไทยบนชายหาดสมิหลา ช่วงนั้นถือเป็นยุคทองทางประวัติศาสตร์ภาพถ่ายของเมืองไทย แม้กระทั่งนักเขียนฉายาพญาอินทรีย์อย่าง ‘รงค์ วงษ์สวรรค์’ ก็เป็นช่างภาพในยุคเดียวกับโกขาว ที่ถ่ายภาพผลงานชุด ‘สะพานพุทธฯ’ ไว้ด้วยส่วนเทคนิคการถ่ายภาพซ้อน ที่เน้นการเหาะเหินเดินอากาศ ว่ากันว่าได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์บอลลีวู้ดทางฝั่งอินเดีย ซึ่งภาพถ่ายซ้อนยอดนิยมจะต้องถ่ายคนด้วยกล้องฟิล์มให้อยู่ในโหลแก้ว โดยการถ่ายคนกับพื้นหลังโปร่งใส เช่น ท้องฟ้า แล้วถ่ายภาพคนถือโหลแก้ว โดยต้องเลือกอัดภาพคนถือโหลแก้วก่อนและต้องมาร์กจุดโหลแก้วให้แม่น เพื่อจะได้อัดภาพคนย่อส่วนให้เข้าไปอยู่ในโหลแก้วพอดี จากนั้นพนักงานประจำห้องมืดล้างภาพฟิล์มด้วยน้ำยา ต่อด้วยล้างน้ำเปล่าขั้นตอนสุดท้าย ทั้งหมดนี้เสร็จสิ้นในเวลาราวๆ 30 นาที สมกับชื่อร้านถ่ายรูปทันใจเทคนิคการถ่ายภาพเชิงซ้อนที่ดูมีลูกเล่นพิเศษนี้ทำให้ลูกจ้างที่เคยทำงานกับโกขาวทยอยออกไปตั้งกิจการของตัวเอง อย่างช่างภาพเจริญ อักโขมี ร้านแหลมหินโฟโต้ ช่างภาพสมชาย เนี่ยวตระกูล หรือลุงวี ช่างภาพพร้อมรถตู้คู่ใจแถวพระปฐมเจดีย์ ที่นครปฐม จนช่วงปี พ.ศ. 2520 กิจการร้านถ่ายรูปทันใจพากันปิดตัว หลังจากอุตสาหกรรมภาพถ่ายมีการใช้ฟิล์มสีมากขึ้นและการเข้ามาของเทคโนโลยีกล้องถ่ายรูปแบบพกพา แต่ปัจจุบันศิษย์ของโกขาวยังเปิดกิจการร้านไทยศิลป์อยู่ที่บางแสนและเมืองพัทยา ส่วนร้านแหลมหินโฟโต้ยังคงเป็นร้านถ่ายรูปทันใจที่หลงเหลืออยู่แห่งเดียวในจังหวัดสงขลา บันทึกเวลา ณ ปัจจุบันในนิทรรศการสมิหลาเชิงซ้อน โต้บอกว่า คอนเซปต์ของงานคือคำว่า ‘เชิงซ้อน’ อย่างการซ้อนกันในแง่เทคนิค มิติทางวัฒนธรรม และมุมมองผ่านสายตาช่างภาพที่ได้ช่างภาพอย่าง น้าชำ มาร่วมจัดแสดงงานในครั้งนี้ ระนาบที่หนึ่งในยุคปัจจุบัน โต้คิดไอเดียอยากที่จะเล่าเรื่องสงขลาซึ่งเป็นจุดแลนด์มาร์ก ก็คือชายหาดสมิหลา โดยนำแนวคิดการนำเสนอภาพแนวร่วมสมัยทั้งเทคนิคภาพถ่ายเชิงซ้อนในยุคก่อน และเทคนิคของภาพมอนทาจ (Montage) ด้วยการครีเอตร่วมกับซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ให้ออกมาแฟนตาซีแบบเซอร์เรียล ผ่านการเก็บบันทึกความทรงจำของทั้งโกขาว ที่ชายหาดสมิหลา และเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อยอดไปรอบๆ จังหวัดสงขลา อย่างตึกหรือยานพาหนะ เช่นตึกฟักทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตึกในเมืองเก่าสงขลา รถถีบสามล้อลุงแจ้ว ซึ่งปรากฏในปี 1957 (พ.ศ. 2500) ให้คนเข้าชมได้ปฏิสัมพันธ์กับงาน ถัดมาตรงหน้าในระนาบเดียวกันเป็นการเล่าเรื่องผ่านภาพถ่ายด้วยกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง จากอาสาสมัครคนสงขลาจำนวน 9 คน แบ่งเป็นเจน X Y และ Z ที่พรีเซนต์มุมมองของคนทั้งสามช่วงวัยผ่านพื้นที่ เช่น ย่านเมืองเก่า หาดสมิหลา และสิงหนคร เมื่อเรียงต่อกันทั้ง 3 เจน 3 โลเกชั่น โดยถ่ายคนละ 3 ภาพ รวมกันทั้งหมด 9 คน และอีก 3 เจน จะได้รูปภาพจำนวน 27 รูปเท่ากับในกล้องฟิล์มพอดี แล้วนำรูปภาพทั้งหมดสกรีนลงบนผ้าผืนยาวสีขาวที่พัดพลิ้วไหวอยู่ใต้อาคารเรียน จุดระนาบสุดท้ายเป็นการเล่าเรื่องยุคปัจจุบัน คือการเล่าถึงความทรงจำของ ‘น้าชำ’ ที่มีต่อพื้นที่บ้านเกิดในสงขลา ด้วยผลงานชื่อ ‘Then & Now’ เป็นภาพถ่ายที่บันทึกวิถีชีวิตของผู้คนและระบบนิเวศน์บริเวณชายหาดสงขลาไปจนถึงหาดชลาทัศน์และเก้าเส้งผ่านมุมมองช่างภาพระดับตำนานทบทวนเหตุการณ์และเวลาในอดีตจากยุคปัจจุบันเดินทางย้อนสู่อดีตกาลใน 3 ห้องเรียน ด้วยเรื่องเล่าของการกำเนิดภาพถ่ายเชิงซ้อนควบคู่กับเกร็ดประวัติศาสตร์ ผ่านการจัดแสดงภาพถ่ายเชิงซ้อนของจริง ที่เอื้อเฟื้อภาพโดย ครูจรัส จันทร์พรหมรัตน์ ครูโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และภาพฟิล์มเก่าของลุงเจริญ เจ้าของร้านแหลมหินโฟโต้ ในห้องนี้จะเชื่อมโยงเรื่องราวเดียวกับห้องด้านหน้าซึ่งจัดแสดงงาน Installation Art ด้วยการนำภาพถ่ายเชิงซ้อนอัดลงแผ่นอะครีลิก แล้วติดตั้งผลงานเป็นรูปวงกลม ทำให้เกิดวิชวลทางสายตาเมื่อเดินวนรอบๆ ส่วนในห้องสุดท้ายเป็นงานวิดีโอเชิงทดลองที่เล่าถึงเวลาและเหตุการณ์ที่ปรากฏบนชายหาดสมิหลาบริเวณรูปปั้นนางเงือก  สิ่งที่ยื้อความเป็นอดีตและดูแหวกทางกว่างานชิ้นอื่นๆ คืองานวิดีโอเชิงทดลอง ที่บันทึก ‘เหตุการณ์’ และ ‘เวลา’ บนชายหาดสมิหลา ซึ่งโต้บอกว่า งานวิดีโอเชิงทดลองชิ้นนี้เป็นการพูดถึงเวลาในอีกมิติหนึ่ง ด้วยการบันทึกวิดีโอเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเวลาที่ถูกบันทึกจะตรงกับชั่วขณะเวลาปัจจุบันที่เรากำลังมองผ่านวิดีโอ ที่สำคัญ การตั้งกล้องบันทึกวิดีโอผ่านวิวบริเวณรูปปั้นนางเงือกคือจุดไฮไลต์ที่โกขาวเคยถ่ายภาพนักท่องเที่ยวอีกด้วยตั้งคำถามถึงอนาคตด้วยมนุษย์และ AIเมื่อพูดถึงอนาคต มักจะเป็นเรื่องที่มนุษย์คาดเดาไม่ได้ แต่มนุษย์เตรียมที่จะวางแผนหรือรับมือได้ ในนิทรรศการเชิงซ้อนก็พูดถึงปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สิ่งประดิษฐ์เหนือกาลเวลา ซึ่งโต้บอกว่า ในยุคนี้การทำงานในรูปแบบ AI มีผลกับคนทำงานทางด้านวิชวล โดยเฉพาะงานภาพถ่ายค่อนข้างมาก เขาจึงเชิญทีม PSUIC (Prince of Songkla University International College) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อย่างอาจารย์ไพลิน ถาวรวิจิตร และอาจารย์อาทิตยา นิตย์โชติ ที่ทั้งคู่เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบกราฟิกดีไซน์ การทำแอนิเมชั่น และเชี่ยวชาญทางด้าน AIการเล่าเรื่องราวถึงอนาคต ได้นำเทคโนโลยี AI หรือภาพถ่ายจากนวัตกรรม AI เข้ามาเพิ่มมิติของงานภาพถ่ายซึ่งมีผลกับคนทำงานด้านวิชวลทางภาพถ่ายในยุคสมัยนี้ รวมๆ คือเริ่มจากการสอบถามคนในชุมชนถึง ‘ปัญหา’ ที่พบเจอในย่านเมืองเก่าและบริเวณชายหาด รวมถึงสิ่งที่ ‘ใฝ่ฝันอยากเห็น’ ในย่านเมืองเก่าและชายหาดในอนาคต ซึ่งคำตอบที่ได้ออกมากลายเป็นภาพ AI แทนความรู้สึกของคนในชุมชน บ้างก็เป็นรูปนางเงือกที่มีบุคลิกแปลกใหม่ บ้างก็เป็นสภาพแวดล้อมจากชายหาดและย่านเมืองเก่าที่หลุดออกจากกรอบเดิม“ส่วนผมกับอาจารย์ไพลินเดินเก็บภาพถ่ายขยะจากชายหาดสมิหลาสงขลา เป็นงานศิลปะจัดวางที่สร้างสรรค์เรื่องราวขึ้น โดยอาจารย์ไพลินออกแบบกราฟิกจากภาพถ่ายขยะด้วยแนวคิดของศิลปินในการทำงานด้านศิลปะ แล้วนำชิ้นงานไปสแกนกับเทคโนโลยี AI ว่ามีความเห็นคิดตรงกับศิลปินหรือไม่ น่าแปลกใจตรงที่บางชิ้นงาน ‘AI’ มีความคิดเห็นตรงกับ ‘มนุษย์’ อย่างมาก ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สื่อสารความคิดได้ตรงจุดมากๆ” โต้อธิบายอย่างที่โต้บอก ว่าการเข้ามาของ AI ในยุคปัจจุบันมีส่วนสำคัญต่อการทำงานด้านวิชวลของงานภาพถ่ายไม่น้อย เพราะมีผลให้ทำงานง่ายขึ้น และลดทอนเวลาการทำงานลง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทคนิคการถ่ายภาพเชิงซ้อนในอดีตที่โกขาวเป็นผู้บุกเบิกจนเป็นที่นิยมให้เปิดกิจการร้านถ่ายรูปทันใจตามต่อกันเป็นทอดๆ แท้จริง ‘จุดกำเนิด’ และ ‘จุดสิ้นสุด’ ของเรื่องราวทอดยาวแน่นิ่งอยู่ตรงนั้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก: วิรุนันท์ ชิตเดชะ_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

The Making of Festival Vibe : Catalyst The Bliss

Festival Vibe : Catalyst The Bliss เมื่อดนตรีและศิลปะการแสดงเปรียบเหมือนสารเคมี ที่เป็นตัวตั้งต้นให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ปักษ์ใต้Pakk Taii Design Week ได้ร่วมมือกับ CAPT สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ มูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ Prayoon for Art Foundation ร่วมกับ Don iPlayAlone ศิลปิน Jazz ที่โดดเด่นในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางดนตรีในการดีไซน์ศิลปะการแสดง (Performing & Show) ภายใต้แนวคิดหลัก “City as a Living Theatre” ออกมาเป็นชุดการแสดงภายใต้แนวคิด “Catalyst The Bliss” การใช้​​ดนตรีและการแสดงที่เปรียบเหมือนสารเคมีหรือตัวเร่งปฏิกิริยา ใช้การแสดง ที่ดึงเอาร้ากเหง้าความเป็นปักษ์ใต้มาเล่าใหม่ ดีไซน์ใหม่ให้เกิดความน่าสนใจ และเป็นตัวเร่งให้เกิดศิลปินหน้าใหม่ในพื้นที่เพิ่มขึ้นคุณเวลา อมตะธรรมชาติ ตัวแทนจากสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ มูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ Prayoon for Art Foundation บอกว่า “เวลาเราลงไปทำงานกับศิลปินท้องถิ่น เรามักจะเห็นศิลปินหน้าตาเหมือนเดิม กลุ่มคนเดิม ศิลปะแบบเดิม เช่น ถ้ามาภาคใต้ ก็มักจะนึกถึงมโนราห์เสมอ นักสร้างสรรค์กลุ่มเดิมจะถูกใช้งานบ่อยๆ โจทย์ของเราก็คือว่า ทำอย่างไรให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นบ้าง จึงเปิดเป็นพื้นที่ได้การทดลองทำการแสดงศิลปะในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เราไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำมันจะเวิร์คไหม เราต้องทดลอง” เกิดเป็น 4 การแสดงสุดพิเศษ เพื่อพาปักษ์ใต้ดีไซน์วีคไปเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนลมหกทิศ โดย ป๋อง ดร.ชุมชน สืบวงศ์ ศิลปิน Jazz และแอน มณีรัตน์ สิงหนาท ศิลปิน Percussionการแสดงชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากองค์ความรู้ของคนปากพนัง ที่ว่าภาคใต้เป็นแหล่งศูนย์รวมของลม 6 ทิศ มารวมกันเป็นวัฒนธรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมจากจีน หรือเป็นวัฒนธรรมจากอาหรับ โชว์นี้จึงต้องการเป็นโชว์เปิดงานที่จะพูดถึงความหลากหลาย “ภาคใต้ไม่ใช่แค่ที่ของคนใต้ แต่เป็นที่ที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย” ในโชว์นี้ดนตรีจากหลากหลายวัฒนธรรมจะถูกนำมาทดลองบรรเลงร่วมกัน เป็น Music Performance มา Battle กันผ่านโจทย์เรื่อง ลมหกทิศ โดยที่นักดนตรีแต่ละคนบนเวทีจะไม่ทราบว่าลมแต่ละทิศอื่นนั้นเป็นอย่างไร โชว์นี้จึงใช้ความสามารถของนักดนตรีว่าจะต้องทำอย่างไรให้ทุกอย่างสามารถสอดประสานไปด้วยกันได้ การแสดงครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนการ Battle ของเสียงดนตรี ที่แต่ละทิศทางจะนำพลังและความแปลกใหม่มาบรรจบกัน สร้างความอิ่มเอมและเร่งปฏิกิริยาแห่งความสุขให้กับผู้ชมได้สัมผัสอย่างลึกซึ้งสำหรับการเป็นโชว์เพื่อเปิดเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้Enter the Void โดย ครูเพลง กฤตนน รักนุ่น และ แฮม ฐาณิศร์ สินธารัตนะ สองศิลปิน Jazz Experimentalหนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน Paktaii Design Week ปีนี้ คือการแสดงดนตรีที่นำเอาดนตรีและศิลปะการแสดงพิธีกรรมโนราห์โรงครู ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงที่มีความศักดิ์สิทธิ์และยึดโยงกับบรรพบุรุษของชาวใต้ มาปรับให้เข้ากับแนวดนตรี Jazz สมัยใหม่ โดยการแสดงนี้เกิดจากคนที่เติบโตในครอบครัวของครูโนราห์ ที่ต้องการสืบทอดพิธีกรรมแบบนี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป แต่เดิมพิธีกรรมโนราห์โรงครูคือการเชื่อมโยงระหว่างลูกหลานและบรรพบุรุษ การแสดงชุดนี้จึงทำให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงไปถึงบรรพบุรุษ หรือคนที่มีความหมายกับเราในรูปแบบที่ร่วมสมัย การเชื่อมโยงกับบรรพบุรุษผ่านดนตรีมโนราห์โรงครูในครั้งนี้ ถือเป็นการเคารพและสืบสานวัฒนธรรมที่ล้ำลึกของชาวใต้ ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่อาจเคยรู้สึกว่าห่างไกลจากชีวิตประจำวันของพวกเขา การปรับเปลี่ยนดนตรีพิธีกรรมมโนราห์โรงครูให้อยู่ในรูปแบบของดนตรี Jazz ไม่ได้ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์และความหมายดั้งเดิมของดนตรีนี้สูญหายไป แต่กลับเป็นการเพิ่มมิติใหม่ในการรับรู้และเข้าใจ เสียงดนตรีที่ผสานกันนี้ทำให้ผู้ฟังได้สัมผัสถึงความงามและความซับซ้อนของวัฒนธรรมภาคใต้ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องราวของอดีต แต่ยังเป็นสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นใหม่และบรรพบุรุษของพวกเขา การแสดงนี้ไม่เพียงแต่เป็นการทดลองทางดนตรี แต่ยังเป็นการส่งต่อเรื่องราวและความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในพิธีกรรมผ่านเสียงดนตรีและการนำเสนอที่ร่วมสมัยอีกด้วยรองเง็งสนทนา วงน้ำชาจากอันดามันสู่อ่าวไทย โดย “รองเง็ง’อัสรีมาลา” (สงขลา) “รองเง็งสวนกวี” (กระบี่) และ “รองเง็งคณะพรสวรรค์” (ชาวเล)หากพูดถึงการแสดงที่เชื่อมโยงกับภาคใต้ “รองเง็ง” ก็อาจจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนนึกถึง ด้วยท่วงทำนอง ความสนุกสนานมีชีวิตชีชา แต่ในความเป็นจริงเราอาจจะไม่ค่อยได้รู้ที่มา ที่ไปของรองเง็งอย่าลึกซึ้ง ว่าแท้จริงแล้วการแสดงรองเง็งมีหลายรูปแบบต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในครั้งนี้จึงหยิบเอาการแสดงรองเง็งมาเล่าใหม่ ในรูปแบบของ “รองเง็งสนทนา” โดยเวทีจะถูกเปลี่ยน Setup กลายเป็นวงน้ำชา ที่จะชวนคนดูไปพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงที่มาของรองเง็งและพาไปรู้จักรองเง็งมากขึ้น ผ่านรองเง็งที่มาจากต่างพื้นที่ อย่างรองเง็งอัสรีมาลา จากจังหวัดสงขลา รองเง็งสวนกวี จากจังหวัดกระบี่ และรองเง็งคณะพรสวรรค์ ที่เป็นรองเง็งแบบชาวเล จะถูกนำเสนอในรูปแบบที่ยังคงเอกลักษณ์ แต่เสริมด้วยเรื่องราวและการสนทนาที่ลึกซึ้ง ทำให้ผู้ชมได้เข้าใจและซึมซับถึงความงดงามและความหลากหลายของรองเง็งมากยิ่งขึ้น “รองเง็งสนทนา” จึงเป็นเวทีที่สร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงผู้ชมเข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่น ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรื่องราวที่ถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมภาคใต้ในมุมมองที่สดใหม่และร่วมสมัยใต้ภวังค์ Veiled Coastal Dreams: Ecstatic Slumbers โดย ไซอิ๋ว Zonzon.ztudio Media Artist และ Filmmaker การแสดงชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความงาม ความโรแมนติกของเมืองสงขลา จากปากของคนเฒ่าคนแก่ในเมืองสงขลาว่า นี่คือเมืองที่ไม่เคยหลับไหล เมืองที่ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่ทว่า ในปัจจุบัน ผู้คนรุ่นใหม่หรือผู้มาเยือนเมืองสงขลาอาจไม่สามารถสัมผัสถึงมิติเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน จึงอาจจะกล่าวได้ว่า เมืองสงขลาที่ครั้งหนึ่งเคยเปล่งประกาย ตอนนี้อาจกำลังอยู่ในภาวะหลับใหล การแสดงนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพาผู้ชมดำดิ่งลงไปในภวังค์ของเมืองสงขลา ผ่านการใช้ดนตรีแนว Ambient ที่ผสานกับศิลปินด้าน Media Artist เพื่อสร้างสรรค์ “Sound Ambient” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของภวังค์และความฝันของเมืองสงขลา ร่วมกับงานภาพที่ถูกนำเสนอเป็นลักษณะของ Abstraction หรือนามธรรม สะท้อนความงดงามและความลึกลับของเมืองที่กำลังฝันอยู่การแสดง “ใต้ภวังค์” นี้ไม่ใช่เพียงแค่การบรรเลงดนตรีพร้อมกับการฉายวิดีโอโปรเจ็กชันประกอบภาพ แต่เป็นการแสดงแนว Improvisation ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างดนตรีและภาพ ที่สื่อถึงจิตวิญญาณของแดนใต้ที่อาจกำลังหลับใหล และกำลังฝันถึงสิ่งใด การแสดงนี้จึงเป็นบทสรุปที่งดงามของเทศกาลปักษ์ใต้ดีไซน์วีคในปีนี้“สุดท้ายแล้วสิ่งที่ Catalyst The Bliss พยายามจะนำเสนอก็คือ ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของงานศิลปะการแสดงในภาคใต้ ต้องการทดลองให้คนใต้ ศิลปินใต้ ได้เห็นโอกาส ความเป็นไปได้ในรูปแบบใหม่ๆ ว่าเมื่อเป็นงานภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องใต้เข้มข้นตลอดเวลา แต่เราสามารถที่จะหยิบเอาความเป็นใต้มาเป็นส่วนหนึ่งจะผสมผสานกับดนตรีอื่นได้ ทั้ง 4 การแสดงนี้จึงเปรียบเสมือนการเปิดบทสนทนาให้กับศิลปะของภาคใต้ เราไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำไปแล้วมันจะดีหรือออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร สร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดกับศิลปะการแสดงของภาคใต้ได้มากแค่ไหน แต่เราต้องทดลอง” คุณเวลา ตัวแทนจาก CAPT สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ มูลนิธิประยูรเพื่อศิลปะ Prayoon for Art Foundation กล่าวทิ้งท้าย_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

The Making of microWAVE FILM FESTival การรวมคลื่นในหลายมิติที่อยากพาคลื่นลูกใหม่อุ่นร้อนพร้อมเสิร์ฟในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

The Making of microWAVE FILM FESTival การรวมคลื่นในหลายมิติที่อยากพาคลื่นลูกใหม่อุ่นร้อนพร้อมเสิร์ฟในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาพคีย์วิชวลบนแผ่นโบรชัวร์ที่เด่นชัดด้วยฟองคลื่นทาทับบนชายฝั่ง ปรากฏภาพของชายนิรนามเดินย่ำไปข้างหน้าอยู่บนริ้วฟองคลื่น ไอคอนรูปฝักสะตอกระจิริดที่ล้อไปกับเทศกาลหนังเมืองคานส์ได้สุดครีเอต และฟอนต์ภาษาอังกฤษสีเหลืองสะดุดตาที่มีชื่อว่า ‘microWAVE FILM FESTival’ คือทั้งหมดของการบ่งบอกถึงเทศกาลรวมคลื่น-หนังเคลื่อน เช่นการอุ่นเครื่องร้อนๆ พร้อมเสิร์ฟหนังให้แก่ผู้ชมจากบรรดาคนรุ่นใหม่ที่แทนภาพด้วย ‘คลื่นทะเล’ แปลได้อีกความหมายคือ ‘คลื่นลูกใหม่’ ที่พร้อมซัดกระทบฝั่ง เป้าหมายสำคัญของเทศกาลนี้คือการจูงมือคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียเจ๋งๆ ได้งัดแพสชั่นในการทำหนังเพื่อกรุยทางสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและเพิ่มทักษะทางอาชีพ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ แบงค์-ชัยพฤกษ์ เฉลิมพรพานิช, โก้-ชาติชาย ไชยยนต์, เยเมนส์-ศิววุฒิ เสวตานนท์, เต้ย-กษิดิ์เดช มาลีหอม, โรส-พวงสร้อย อักษรสว่าง, เก่ง-จักรวาล นิลธำรงค์ และอิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก กลุ่มคนทำหนังมืออาชีพในแวดวงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ต่างคุ้นชื่อกันดี นั่นเพราะแบงค์-ตัวแทนของทีมบอกไว้ว่า โลกของการทำหนังหมุนไปไกลมาก เด็กรุ่นใหม่หรือคลื่นลูกใหม่จึงมีความสำคัญในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ถ้ามองตามชื่อของเทศกาล การนำคำว่า Wave กับ Microwave มารวมกัน ก็เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องบรรดาคลื่นลูกใหม่ในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยการรวมตัวกันของกลุ่มคนทำหนังในเทศกาลครั้งนี้จึงมีทั้งกิจกรรมฉายหนัง เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดของบรรดาคนที่คลุกคลีการทำหนัง การส่งหนังสั้นเข้าประกวดเพื่อการเชื่อมต่อกันของคนทำหนัง ยังมีห้องเรียนอัพสกิลความเป็นมืออาชีพ หรือการแสดงเสมือนจริงนอกจอภาพยนตร์ และการชมเมือง-เที่ยวเมืองในมุมมองของคนทำหนัง ที่ทางเทศกาลพยายามจัดอย่างครอบคลุมเพื่อโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างที่พวกเขาตั้งใจตั้งแต่แรก ในเทศกาลรวมคลื่น-หนังเคลื่อนนี้ แบงค์จุดประกายว่า ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับมืออาชีพ จริงๆ แล้วมี Filmmaker ชาวใต้ที่ทำงานในแวดวงคนทำหนังอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับเด็กรุ่นใหม่ในปักษ์ใต้ยังอยู่ห่างไกลที่จะได้เข้าไปทำงานในวงการทำหนังจริงๆ ทีม Microwave จึงเล็งเห็นช่องว่างตรงนี้ที่พยายามสื่อสารกับน้องๆ ระดับมัธยม รวมถึงระดับมหา’ลัยในการก้าวสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยแบงค์ทำงานร่วมกับเยเมนส์ในการสื่อสารให้เด็กรุ่นใหม่เห็นภาพกว้างของวงการหนังไทยว่าไม่ได้มีแค่ผู้กำกับฯ หรือผู้เขียนบทเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่สำหรับทีมทางเทคนิค ทีมกล้อง-ไฟ ทีมโลเกชั่น ทีมผู้ช่วยผู้กำกับฯ ฝ่ายจัดการกองถ่าย ทีมอาร์ต ฯลฯ ซึ่งทุกตำแหน่งหากได้เข้าไปเรียนรู้ ก็จะพาตัวเองไปสู่ตำแหน่งอื่นๆ ได้ อย่างเช่น นักแสดงหนังอิสระที่ไปไกลถึงระดับเมืองคานส์ อย่าง อุ้ม-วัลลภ วงกำจัด ก็ยังเริ่มจากการคลุกคลีอยู่ในทีมอาร์ตหรือทีมพร็อพมาก่อน ดังนั้น อาจต้องเริ่มจากพาตัวเองเข้าไปสู่วงการหนังให้ได้ ซึ่ง microWAVE อาจเป็นการจุดประกายแรกให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใกล้วงการทำหนังได้ง่ายขึ้น รวมถึงให้พวกเขาได้เห็นหนังสั้นจากนักทำหนังรุ่นก่อนหน้าทั่วประเทศ ก็จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้มีแรงอยากทำหนังมากยิ่งขึ้น (เพราะที่ผ่านมาเมื่อพวกเขาได้ดูแค่หนังระดับอาชีพ หรือหนังที่ประสบความสำเร็จไปแล้วจะรู้สึกว่าไกลเกินความสามารถของตัวเอง) “แต่อย่างที่บอกว่าเรามองเรื่อง ‘คลื่น’ ในหลายมิติ แน่นอนว่าการรวมคลื่นที่หมายถึงเจนเนอเรชั่นเป็นเป้าหมายแรกๆ ของเรา เรารู้สึกว่า คนทำหนังไทยต่อเจนกันไม่ติด การพาคนทำหนังรุ่นใหม่มาเจอรุ่นพวกเราจึงเป็นเป้าหมายแรก แต่พอทำไปแล้วก็เจอคลื่นจิ๋วในโลคัลที่สนใจมาร่วมจอย และรุ่นกลางๆ อย่างพวกที่ช่วยเชื่อมให้ทุกอย่างคอนเน็กชั่นกันก็ทำให้เราเห็นภาพที่กว้างขึ้น”“แต่คำว่าไมโครเวฟ เราคิดกันเล่นๆ ในบทสนทนาของเด็กรุ่นใหม่ที่ทำหนังกันว่า เราอยากพาหนังสั้นธีสิสไปอุ่นร้อนในไมโครเวฟแล้วพร้อมเสิร์ฟต่อไป เหมือนเป็นการได้อุ่นเครื่องหนังสั้นอยู่ตลอดเวลาโดยที่หนังสั้นไม่ต้องแน่นิ่งอยู่กับที่” แบงค์อธิบาย หนังสั้น หรือ Short Film ว่ากันว่ามีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์อยู่ไม่น้อย ซึ่งในปีๆ หนึ่งจะมีหนังสั้นธีสิสของนิสิตหลายร้อยเรื่อง แต่เมื่อส่งงานเสร็จแล้วจัดฉายดูกันเองแล้วทุกอย่างจบ ทำให้ทีมงานไมโครเวฟมองเห็นช่องโหว่นี้และรู้สึกเสียดาย เลยนำสิ่งเหล่านี้มาคิดต่อยอดว่าจะทำยังไงให้หนังสั้นของเหล่า Young Filmmaker ให้ได้ตีตั๋วไปต่อในวงการ “หนังสั้นเป็นโปรไฟล์ที่ทำให้คนได้เห็นศักยภาพของเจ้าของหนังได้อย่างชัดเจน ซึ่งมักจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยแพสชั่นล้วนๆ เพราะจริงๆ แล้ว โปรดิวเซอร์หรือผู้ใหญ่ในวงการทำหนังจะมองศักยภาพของนักทำหนังรุ่นใหม่ผ่านหนังสั้นธีสิสเหล่านี้เลย”“อีกแง่มุมที่น่าสนใจมากๆ คือเทรนด์ของหนังสั้นแต่ละปีจะถูกบันทึกไว้ผ่านหนังของนิสิตในแต่ละรุ่น แน่นอนว่า การตามดูหนังสั้นที่ถูกคัดเลือกจะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในแง่ความสนใจของเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวขึ้นสู่ระดับอาชีพ” แบงค์เล่าอย่างไรก็ตาม วงการหนังอิสระ หนังสั้น หนังอาร์ต อาจจะไม่ได้จบอยู่แค่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่แบงค์กลับคิดว่า คนรักในการทำหนังควรเปิดใจให้กว้าง และเลิกแบ่งแยกประเภทของหนัง เพราะหนังทุกประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจและยอมรับด้วยกันเอง “ผมได้เห็นบทสนทนาระหว่างคนทำหนังอิสระ และหนังในรูปแบบเมนสตรีมที่แลกเปลี่ยนอินสไปร์กันเอง เช่น พี่โต้ง-บรรจง หรือพี่เก่ง-จักรวาล แม้กระทั่งหนังแมสหรือหนังแมสต่างค่าย เมื่อคุยกันแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ อีกอย่าง ต้องเต ผู้กำกับเรื่องสัปเหร่อ ก็ยังนั่งคุยเรื่องบทกับ พัฒน์ ผู้กำกับเรื่องหลานม่า ที่ต่างคนต่างเคารพและแลกเปลี่ยนกันแบบคนทำงานศิลปะ ผมมองว่าคงเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจทำให้หนังไทยแข็งแรงและเลิกแบ่งแยกกัน”“เช่นเดียวกับกลุ่มคนดูหนัง บางคนชอบหนังในเชิงศิลปะมักด้อยค่าหนังเมนสตรีม แต่ ในทางกลับกัน คนที่อยู่สายหนังแมสก็มักมองว่าหนังเชิงศิลปะไม่มีค่าและดูน่าเบื่อ สุดท้ายเมื่อเปิดใจและลองดูอาจทำให้เปลี่ยนมุมมองก็ได้” แบงค์ออกความเห็น  แบงค์เสริมว่า กลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ที่ฝันอยากเป็นผู้กำกับ อย่างแรกเลยคือ ต้องชอบเล่าเรื่อง และมีเรื่องที่อยากจะเล่า ถ้ายังไม่เริ่มต้นจากตรงนี้คิดว่าน่าจะไปต่อได้ยาก ส่วนคนที่อยากทำงานในวงการหนัง ก็ต้องเริ่มจากการชอบดูหนัง และสนุกสนานเมื่อได้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นคนทำหนังด้วย  “ตอนนี้โลกของการทำหนังมันหมุนไปเร็วมาก คนดูหนังก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเร็วมากๆ ถัาเราไม่เริ่มพาคลื่นลูกใหม่เข้าวงการ คิดว่าวงการหนังไทยจะก้าวไปข้างหน้าได้ยากกว่าประเทศที่เขาเป็นสหภาพทางด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์จริงๆ” แบงค์ทิ้งท้าย  _#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

The Making of จักรวาลอาหารใต้สไตล์ ‘มะเทเบิ้ล’ โรงอาหารริมเล ที่รวมความ Rare-Pop-Variety ไว้ในที่เดียว

The Making of จักรวาลอาหารใต้สไตล์ ‘มะเทเบิ้ล’ โรงอาหารริมเล ที่รวมความ Rare-Pop-Variety ไว้ในที่เดียวหลายคนคงเคยเห็น บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผ่านการครีเอตอาหารบนโต๊ะด้วยการดีไซน์ความเป็น Pop-Culture ผสานเอกลักษณ์ของเสน่ห์พื้นถิ่น ที่ถ้าใครได้เห็นแล้วคงรู้สึกว่าการหยิบจับเสน่ห์เหล่านั้นมาเล่าอย่างมีสีสันในแบบของบอลคงจะสนุกตามเขาไปด้วยบอลถนัดการทำเชฟเทเบิ้ลหรือไฟน์ไดนิ่ง โดยเฉพาะ ‘อาหาร’ คือสิ่งแรกๆ ที่เขาถนัด ความถนัดในเรื่องอาหารที่เขาใส่ใจแม้กระทั่ง ‘วัตถุดิบ’ ก็ยังต้องมีสตอรี่เพื่อให้เรื่องเล่าบนโต๊ะอาหารเป็นไปได้มากกว่าขีดจำกัดของความเป็น ‘อาหาร’ ในสิ่งที่คนทั่วไปเคยเจอ  เห็นได้จาก ‘มะเทเบิ้ล’ ในงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีคที่เพิ่งผ่านพ้น บอลชวนเหล่า ‘มะ’ เพื่อเป็นตัวแทนของ ‘รสมือแม่’ มาเปิดพาวิลเลียนโชว์ฝีมือเชฟเทเบิ้ลทำอาหารพื้นถิ่น โดยที่เขาบอกว่าใส่ความเป็น ‘วาไรตี้’ จัดเต็มลงไปในอาหารกว่า 135 เมนูที่ถูกรังสรรค์ขึ้นเป็นเวลากว่า 9 วันไม่ซ้ำกันแม้แต่เมนูเดียว!นอกจากอยากให้คนมาชิมรสฝีมือของ ‘มะ’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘หม่าม้า’ ‘แม่’ หรือภาษาใต้เรียกว่า ‘แหม่’ เป็นการยกเวิร์ดดิ้งให้คนเข้าใจว่า มะเทเบิ้ลนี่แหละ…คือการกินรสฝีมือแม่บนโต๊ะอาหารจากเหล่าเชฟในชุมชนที่ชวนกันมาทำอาหารในสิ่งที่แต่ละคนถนัด แล้วก็ยังมีเชฟพี่อุ้ม ที่คนใกล้ตัวทราบกันดีว่าเป็นระดับมาสเตอร์ทางด้านอาหารเปอนารากันมาร่วมแจมสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้น ต้องอวยยศในเรื่องของศาสตร์ทางด้านอาหาร หรือ Gastronomy ที่นำเสนอแก่นของอาหารปักษ์ใต้ เช่น วัตถุดิบท้องถิ่น กระบวนการหรือขั้นตอนวิธีทำอาหาร ฯลฯ เพื่อผลลัพธ์ที่ทำให้คนได้เข้าใจในอีกมุมมองว่า อาหารปักษ์ใต้ไม่ได้มีแค่รสเผ็ดอย่างที่เข้าใจกันสักหน่อยครีเอตเมนูวาไรตี้ไม่ซ้ำกันกว่า 135 เมนูบอลเล่าว่า ทีมมะเทเบิ้ลได้รับโจทย์ให้นำเสนออาหารในภาคใต้ให้คงความดั้งเดิมผสมกับความเป็นวาไรตี้ เพราะอันที่จริงคนทั่วไปจะเข้าใจกันว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีรสเผ็ดร้อน แต่ความเผ็ดร้อนในอาหารปักษ์ใต้มีหลายเลเวล ทั้งความเผ็ดจากอาหารมลายู เปอนารากัน หรือความเป็นปักษ์ใต้แท้ๆ อาหารเลยมีความจัดจ้านและกลมกล่อมแตกต่างกันไป ครั้งนี้บอลจึงนำเอาความเป็นวาไรตี้ในอาหารปักษ์ใต้ให้ทุกคนได้ลองชิมผ่านอาหาร 135 เมนู ใน 9 วันเต็มๆ ที่นำวัตถุดิบมาทั้ง 14 จังหวัด ซึ่งบางเมนูคิดขึ้นใหม่ และบางเมนูเน้นความเป็นดั้งเดิมอยู่แล้วในแบบไม่ซ้ำกัน   อาหารที่มีความเป็น ‘วาไรตี้’ ในความหมายของบอลคือ การครีเอตเมนูขึ้นใหม่อาจจะด้วยแรงบันดาลใจ วัตถุดิบทางภาคใต้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละกลุ่ม อย่างกลุ่มลูกเหรียงถนัดแกงพื้นบ้าน เช่น แกงเห็ดเสม็ด (เห็ดพื้นบ้านทางภาคใต้ มีรสชาติขมเล็กน้อย มักนิยมทำไปทำเป็นแกงคั่ว แกงกะทิ หรือต้มกินกับน้ำพริก) หรืออาหารทางฝั่งยะลาอย่างไก่เบตงยะลา ซึ่งบอลจะคอยดูส่วนประกอบในอาหารชนิดนั้นๆ ด้วยว่ากลุ่มไหนเหมาะกับเมนูแบบไหนการทำแบบนี้ข้อดีคือจะทำให้อาหารเกิดความสดใหม่ มีความเป็นวาไรตี้ และอาจจะไปถึงขั้นทำให้อาหารต่อยอดการเปิดโลกของการกินอาหารอย่างสนุกสนาน อีกเหตุผลคืออยากให้คนที่ลองชิมได้นึกถึงรสมือแม่ และรสดั้งเดิมของคนปักษ์ใต้แบบโฮมคุกกิ้งสำหรับเมนูที่ถูกรีเควสต์จากมะเทเบิ้ลอย่างไม่รามือ นั่นคือ ‘แกงเนื้อ’ แบบมลายูที่กินคู่กับตูปะหรือโรตี โดยเมนูแกงเนื้อจะเป็นฝีมือของมะชาวปัตตานีที่ทำอาหารฝั่งมลายู แต่ทั้งนี้บอลบอกว่า ในความเป็นจริงอยากให้อาหารมีความหลากหลาย ไม่ใช่แค่อาหารฝั่งมุสลิมอย่างเดียว เช่น หมูฮ้อง อาหารฝั่งเปอรานากันที่หารับประทานได้ยาก ซึ่งมีพี่อุ้มเข้ามาช่วยในเรื่องอาหารฝั่งเปอนารากันและถนัดในศาสตร์อาหารทางด้านนี้เสน่ห์ของ Route และ Root อาหารพื้นถิ่นอย่างที่บอกไปว่า การที่บอลและทีมได้รับโจทย์ให้รังสรรค์เมนูมะเทเบิ้ล ก็ทำให้เขามองเห็นทั้ง Route ในแง่ของศาสตร์ทางด้านอาหารไปจนถึง Root ของเสน่ห์อาหารพื้นถิ่น“ทุกวันนี้ทำไมเราถึงสนใจอาหารพื้นถิ่น เพราะเรามองเห็นวัตถุดิบหรือกระบวนการที่ทำให้เราเห็นภาพ Route และ Root ที่นำไปสู่ผลลัพธ์ของอาหารในพื้นที่ บางสิ่งบางอย่างมันสนุกนะ อย่างในยะลาถ้าขายซุปเนื้อกันทั้งตรอก เขาจะพากันเรียกตรอกนั้นว่า ตรอกซุปเนื้อ จนเมื่อเรากลับมาดูว่าเราได้รับโจทย์ใหญ่คือเรื่องอาหาร แน่นอนว่าหัวใจสำคัญคือการกิน เราเลยเริ่ม Route ที่เบตง เราเห็นความชัดเจนแรกอยู่ที่นั่น เช่น ปลานิลสายน้ำไหล ผักน้ำเบตง ไก่เบตง หรือปัตตานีที่ในบางหมู่บ้านนิยมทำไก่กอและ ปัตตานีเลยขึ้นชื่อเรื่องไก่กอและ ซึ่งเราคิดว่าอาหารก็ควรเป็น Route เดียวกับเส้นทางการท่องเที่ยว“แต่อาหารพื้นบ้านที่หากินยาก แม้แต่ฝั่งสามจังหวัดคือ แกงเป็ดกับเครื่องเทศที่นิยมนำไปประกอบอาหารในช่วงเทศกาลฮารีรายอของชาวมุสลิม เป็นวัฒนธรรมความหลากหลายของอาหารพื้นถิ่นเข้ามาด้วย หรืออย่าง ‘แกงกูตุ๊’ ผัดเครื่องในวัวแบบมลายู ที่หาจุดเด่นของความร่วมสมัยในอาหารมารวมกัน เราอยากให้เกิดแรงบันดาลใจต่อวัตถุดิบ เราใช้ความเก่งกาจของแม่ๆ มะๆ มาเป็นคนนำ” บอลเล่าอาหารก็เป็น Pop-culture ได้บอลย้ำอีกว่า กินอาหารต้องสนุก ต้องจอยๆ สิ่งที่เขาวาดฝันไว้ตลอดของการทำเชฟเทเบิ้ลหรือไฟไดนิ่งคือ ต้องทำให้อาหารเป็น Pop-Culture ให้ได้“การทำอาหารให้เป็นป๊อปคัลเจอร์คือต้องสนุกกับมัน แฮปปี้กับมัน นำองค์ความรู้ของชาวบ้านมาแปรรูปเป็นอาหาร ซึ่งครั้งนี้เราอยากพูดเรื่องอาหารว่ามันสนุกยังไง อาจจะอร่อยบ้างไม่อร่อยบ้างไม่ใช่ปัญหา แต่อยากให้ทุกคนได้ทดลองกิน เราสนุกสนานเอ็นจอยไปด้วย เป็นกึ่งบิสซิเนสโมเดลที่เราทดลองกันทั้งหมด“ที่ผ่านมาเราเตรียมตัวในงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีครวมๆ แล้ว 4 เดือน วัตถุดิบบางอย่างก็เป็นซีซันนิ่งเฉพาะ เราเลยต้องแพลนนิ่งเรื่องวัตถุดิบไปก่อน ทำยังไงที่จะไม่ให้ความสนุกในการทดลองหรือกินลดลง อย่างบางเมนูเช่นลูกตาลของสะทิ้งพระพอเอามาทำเป็นเมนูของคาว ทุกคนตกใจที่มันเข้ากัน เลยเกิดเป็นความสนุกในการกิน น้องๆ ในมะเทเบิ้ลก็จะตื่นเต้น พอมีสตอรี่เข้ามาเกี่ยวก็จะไม่ได้เป็นแค่เมนูป๊อปอัพที่ดูง่ายๆ แล้ว “ด้วยตัวเองเป็นเชฟด้วย นอกจากทำแบรนด์ดิ้งของยะลาไอคอน เรายังถนัดงานคราฟต์ประเภทผ้าบาติก อีกอย่างหนึ่งก็คืออาหารที่นำเสนอความเป็นพื้นถิ่น เป็นโลคัลเชฟ ชอบทดลองนำวัตถุดิบมาผสมผสาน เพราะอยากให้ทุกคนสนุก จอยๆ แฮปปี้ นอกจากอาหารแล้วก็ยังแนมเรื่องการจัดดอกไม้บนโต๊ะอาหารเพื่อให้บรรยากาศดูสดชื่นขึ้น ทุกคนก็ได้เห็นการเรียนรู้ของอาหารไปด้วย”“อาหารปักษ์ใต้ไปได้ไกลกว่านี้แน่ แต่จะทำยังไงให้อยู่กับคนในยุคเราไปได้อีกนาน เพื่อให้สิ่งเหล่านี้ยังอยู่ต่อ การนำเอาอาหารไปฟิวชันกับวัตถุดิบอื่นๆ น่าจะทำให้อาหารปักษ์ใต้อย่างมะเทเบิ้ลยังอยู่ต่อไป” บอลทิ้งท้ายในอีกไม่ช้า ทีมมะเทเบิ้ลจะยกพาวิลเลียนทั้งหลังเพื่อไปโชว์รสมือให้ชาวกรุงเทพฯ ได้รู้จักแก่นและเส้นทางของวัตถุดิบอาหารของชาวปักษ์ใต้ที่เกินคาดด้วย_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

The Making of Livable City Project การเพิ่มความน่ารักและยกระดับความน่าอยู่ในพื้นที่ ด้วยวิธีสร้างสรรค์งานออกแบบที่หยิบจับสินทรัพย์มาต่อยอด

The Making of Livable City Project การเพิ่มความน่ารักและยกระดับความน่าอยู่ในพื้นที่ ด้วยวิธีสร้างสรรค์งานออกแบบที่หยิบจับสินทรัพย์มาต่อยอดถ้าจะบอกว่านี่คือกลุ่มคนที่ชวนกันมาทำโปรเจกต์เชิงทดลองสนุกๆ โดยมีโจทย์เรื่อง ‘เมือง’ เป็นตัวตั้ง ดูแล้วอาจเป็นเรื่องที่ยากและไกลตัวคำว่า ‘เมือง’ มักจะมีคำนิยามกำหนดไว้หลายแบบ หากว่ากันรวบย่อในแวดวงวิชาการนั้น เมืองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคม ประวัติศาสตร์ รวมทั้งอำนาจทางวาทกรรมที่กินครอบไปถึงพื้นที่และเวลา แต่นั่นเป็นเพียงการนิยามคำว่าเมืองแค่ ‘ภาพตัวแทน’ ของเมืองเท่านั้น ในขณะเดียวกัน เมืองยังเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คน ซึ่งสภาพแวดล้อมทาง ‘กายภาพ’ ในที่นี้ คือ คุณภาพชีวิตในแบบที่เราไม่ต้องคอยกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเปิดประตูออกจากบ้าน เช่น การเดินข้ามทางม้าลาย การเดินย่ำเท้าบนฟุตบาท หรือกระทั่งการจราจรบนท้องถนน เป็นต้นในเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ปีนี้ ได้มีการหยิบโปรเจกต์สร้างความน่าอยู่ให้กับเมืองมาทำอย่างเป็นรูปธรรม จากกระบวนการการมีส่วนร่วม สู่สารตั้งต้นการพัฒนาพื้นที่ที่สอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ลงไปในย่านเมืองเก่าสงขลา ผ่านงานออกแบบแต่งแต้มสีสันบรรยากาศที่ผ่อนคลายในพื้นที่ โดยสตูดิโอนักออกแบบและคนทำงานด้านเมืองอย่าง Cloud-Floor x Orbi Design, ไตรโหมด (Trimode), Na Studio x meltdistrict และสัมผัสแกลเลอรี (Sumphat Gallery) พวกเขาใช้พื้นที่สาธารณะ หรือ ‘Public Space’ ให้เมืองเกิดการคอนเน็กต์กับผู้คน ด้วยการดึงจุดเด่นในชุมชนหรือย่านจนเกิดประโยชน์ใหม่ๆ เพื่อให้เห็นถึง ‘ความเป็นอยู่’ ทั้งทางวัฒนธรรม งานคราฟต์ หรืองานออกแบบ ที่สำคัญคือการเชื่อมความเป็นเมืองให้เป็นเรื่องใกล้ตัวทั้งหมดนี้ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการต่อจิ๊กซอว์ของนิยามคำว่า ‘เมืองน่าอยู่’ และ ‘เมืองที่ดี’ ที่ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้คนในเมืองใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้นด้วยสภาพแวดล้อมทางกายภาพได้จริงๆLivable City Project สร้างมูลค่าให้เมืองที่เคยผูกพันฟิวส์-นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย ตัวแทนจาก Cloud-Floor x Orbi Design เล่าว่า Livable City Project หรือโปรเจกต์สร้างความน่าอยู่ให้กับเมือง คือโปรเจกต์ที่อยู่ภายใต้ City Project (โปรเจกต์พัฒนาเมือง) ที่อยากพัฒนาพื้นที่สาธารณะในมิติของการยกระดับคุณภาพของชีวิตและเศรษฐกิจในย่านเมืองเก่าสงขลาให้ดีขึ้น โดยมีโจทย์ว่า ถ้าจะให้เมืองเก่าสงขลาเกิดความเป็น Livable City ได้จริง ต้องประกอบด้วย หนึ่ง การรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่และทางเทศบาล (ซึ่งมี เอ๋-ปกรณ์ รุจิระวิไล คอยช่วยประสานงาน) สอง ระดมคนในพื้นที่ของเทศบาลในย่านเมืองเก่าสงขลา 20-30 คน มานั่งถกประเด็นกันตั้งแต่เรื่องขยะ รวมไปถึงการจัดการขยะให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ทางเดินเท้าที่น้อย ซึ่งอาจมีปัจจัยมาจากป้ายวันคู่วันคี่ที่ทำให้การจอดรถทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวสับสน และสาม เทศบาลมีนโยบายให้ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในย่านเมืองเก่าและหาดสมิหลา“จากโจทย์ทั้ง 3 ข้อนี้จึงเป็นที่มาของโจทย์ใหญ่คือ การเดินเท้าอย่างสะดวกสบายขึ้น การจัดการเรื่องขยะ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว จากนั้นจึงแบ่งออกเป็น 6 โจทย์ย่อย อย่าง ‘เดินสบาย’ ‘เดินสะอาด’ ‘เดินเล่น’ ‘เดินรู้’ ‘เดินพัก’ และ ‘City Branding’ ซึ่งปีนี้ทำ 5 ผลงานก่อน ส่วน City Branding ได้นำเสนอกับทางเทศบาลให้ทำเป็นการประกวดออกแบบ City Branding ในปีหน้า“ต่อมาเราก็คอลแลปกับดีไซเนอร์อีก 3 ทีม ทั้ง Na Studio x meltdistrict, สัมผัสแกลเลอรี (Sumphat Gallery) และไตรโหมด (Trimode) ซึ่งต่อยอดแนวคิดออกมาเป็น 6 ผลงาน อย่าง ‘เดินหรอย’ ‘Bin Tower’ ‘เล่าตามตรอก บอกตามประตู’ ‘Neighbors’ ‘Samila Mermaid’ และ ‘Songkhla in Transition: The Mid-Century Facade’ ที่เราเลือก 3 ทีมนี้ เพราะเราใช้เกณฑ์ในการเชิญดีไซเนอร์มาจาก ‘ความผูกพัน’ กับสถานที่ อย่าง Na Studio และทีมไตรโหมดก็เกิดและโตที่สงขลา ส่วนสัมผัสแกลเลอรีก็ทำงานกับชาวบ้านในกลุ่มมโนราห์มาค่อนข้างเยอะ เราเองก็มีน้องที่รู้จักมีบ้านเกิดที่สงขลา เลยใช้ความเชื่อมโยงเกี่ยวกับพื้นที่ วัฒนธรรม และประเภทของงานมาประกอบเข้าด้วยกัน” ฟิวส์อธิบาย Cloud-Floor x Orbi Design : เดินหรอย, Bin Tower, เล่าตามตรอก บอกตามประตูเริ่มจากกลุ่ม Cloud-Floor ที่ฟิวส์เล่าเรื่องเกี่ยวกับการ ‘เดินรู้’ ในชื่อ ‘เดินหรอย’ ที่ทำให้เดินสะดวกและปลอดภัยขึ้น อย่างถนนนางงามจะเห็นการทำทางเดินเท้าหรือ Walkway ด้วยสีชมพู สีขาว หรือสีเขียว ทาทับตรงทางเดินเท้าที่มีรูปช่องลมหรืออาคารตามย่านเมืองเก่าสงขลา และรูปผู้หญิงทั้งสามเจนเนอเรชั่น ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เพื่อเชื่อมโยงกับชื่อถนนนางงามส่วน Bin Tower เราร่วมมือกับร้านค้าในย่าน โดยนำตัวถังขยะไปตั้งตามร้านกาแฟและร้านไอศกรีมในย่านเมืองเก่าสงขลาจำนวน 10 ร้านค้า เพราะร้านกาแฟมักก่อเกิดขยะพลาสติกในย่านมากที่สุด กลุ่ม Cloud-Floor จึงช่วยกันดูแลและทดลองกันว่าวิธีนี้เวิร์กหรือไม่ โดยมีการแยกขยะทุกชิ้นส่วน เช่น แยกน้ำหรือน้ำแข็ง แยกหลอด แยกฝาแก้ว แยกแก้วพลาสติกและขวด รวมถึงกระป๋อง ด้วยการดีไซน์ให้เห็นสัดส่วนของการแยกชิ้นส่วนของขยะอย่างชัดเจน ผลตอบรับที่มาจากการติดตามของฟิวส์พบว่า ผู้คนมีการแยกขยะอย่างถูกต้องตามที่จัดไว้ถึงร้อยละ 30%ฟิวส์เล่าว่า แม้แต่ถังขยะในย่านเมืองเก่าของเทศบาลก็มีการออกแบบเพื่อให้คนทิ้งขยะเห็นได้ชัดขึ้นว่า ตรงนี้ทิ้งขยะรีไซเคิล หรือตรงนี้ทิ้งขยะทั่วไป ซึ่งเมื่อออกแบบให้เห็นชัดเจน อย่างการใช้สี การใช้ฟอนต์ หรือการใช้ฟอร์แมตที่สื่อว่าตรงนี้คือจุดแยกขยะ ปรากฏว่าการแยกขยะเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หรือแม้กระทั่งป้ายบอกตำแหน่งการจอดรถ ‘วันคู่-วันคี่’ เมื่อมีการออกแบบโดยใช้สีที่ดูเด่นสะดุดตา ออกแบบการใช้ภาษา วัน เวลา ที่บ่งบอกชัดเจนถึงการนำรถมาจอดบริเวณริมถนน มีภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่อซัพพอร์ตชาวต่างชาติที่เข้ามาในพื้นที่ ทำให้การออกแบบป้ายการจราจรนี้ได้ผลตอบรับที่ดีจากคนในย่านมากทีเดียว ซึ่งยังเชื่อมโยงกับผลงาน ‘เล่าตามตรอก บอกตามประตู’ ที่เชื่อมเรื่องราวจากชุมชนในย่านได้เช่นเดียวกันแต่ไม่ว่าอย่างไร ฟิวส์ย้ำว่า “การแก้ปัญหาในพื้นที่ เช่น ทางเดินเท้า การทำให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองทั้งในชุมชนหรือย่านดีขึ้น ต้องเริ่มจากคนในพื้นที่ก่อน แล้วนำปัญหาเหล่านั้นมาสู่กระบวนการขั้นตอนในการปฏิบัติ”สัมผัสแกลเลอรี่ Sumphat Gallery : Samila Mermaid พานางเงือกกลับสงขลาแนวคิดในการเล่าเรื่องราวของนางเงือกให้กลายเป็นวิถีชีวิตของคน ด้วยช่างหัตถกรรมจากสงขลาและนครศรีธรรมราช และการระบำพื้นบ้านอย่างระบำรองเง็งเดิมที ‘รัฐ เปลี่ยนสุข’ หรือสัมผัสแกลเลอรี (Sumphat Gallery) เป็นสถาปนิกที่ทำงานกับช่างหัตถกรรม แต่เมื่อทำงานไปเรื่อยๆ รัฐถามตัวเองว่าพอยต์ของชีวิตคืออะไร และนอกจากงานหัตถกรรมจริงๆ แล้วพอยต์คืออะไรอีก สุดท้ายพบว่า หนึ่งคือการเข้าไปทะนุรักษางานหัตถกรรมของชุมชน และการหารายได้ให้ชุมชนเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัว สองคือเรื่องของสิ่งแวดล้อมต้องกลมกลืนกับชีวิตและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมไปด้วย อย่างเช่นงานที่ผ่านมาของสัมผัส คือการรำชาตรี ซึ่งจัดที่ย่านนางเลิ้ง พร้อมกับการทำโปรเจกต์เรื่องสัตว์ป่า เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าที่นครนายกไปด้วย เพราะในช่วงหลังสัมผัสนำเรื่องซอฟต์พาวเวอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซอฟต์พาวเวอร์คือการทำให้เกิดการซึมซับไปเรื่อยๆ เพราะเขามองว่า คนส่วนใหญ่คิดว่าซอฟต์พาวเวอร์คือการฮาร์ดเซล แต่ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยไม่ใช่แค่นั้น แต่ต้องทำให้ชีวิตและวิถีชีวิตของคนได้เดินหน้าต่อ รัฐเลยมองเห็นหาดสมิหลาที่แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน แล้วยังมีตำนานเรื่องนางเงือก ซึ่งเขาได้ยินเรื่องนางเงือกทั้งจากหลายเรื่องราว รวมถึงยังเป็นมุมมหาชนในการถ่ายรูป จึงคิดว่าเรื่องเล่านางเงือกเหมาะที่จะต่อโจทย์ให้กลายเป็นวิถีชีวิตของคนได้ “เราอยากให้เรื่องเล่าในตำนานและความเป็นธรรมชาติมาผูกโยงเข้าด้วยกัน อย่างนางเงือกจะมีเรื่องเล่า ความเป็นธรรมชาติคือ ที่หาดสมิหลาจะมีนกแก้วอาศัยอยู่ที่นี่ 20 กว่าตัว เราเลยหันมามองโจทย์ว่าจะทำยังไงให้คนที่เป็น Stakeholders นำสิ่งเดิมๆ ไป Input ต่อได้ เลยแตกประเด็นออกมาได้ 4 ประเด็น หนึ่งคือ ช่างทำว่าว ช่างทั้งหมดจะมีองค์ความรู้หมดเลย เชื่อกันว่า หาดสมิหลาเคยมีนางเงือกขึ้นมาบนชายหาด เราเลยผูกเรื่องนางเงือกด้วยการพานางเงือกกลับสู่หาดสมิหลาอีกครั้ง ทั้งการใช้เชือกเล่นว่าวรูปนางเงือก หรืองานศิลปะจัดวางด้วยโมบายรูปนางเงือกก็วางตั้งบนริมชายหาดสมิหลาเช่นเดียวกันสอง ช่างทำบาติก แต่เดิมเป็นช่างทำกรวยลมรูปปลาคาร์ฟ จึงเปลี่ยนมาทำกรวยลมรูปนางเงือกแทน ที่มีความเชื่อกันว่า ถ้านำไปแขวนที่หน้าบ้านใครจะทำให้คนรักคนหลง รวมถึงกระเป๋าถักใส่ของใช้ที่ได้แนวคิดจากกระเป๋าเก็บทรัพย์สมบัติของนางเงือกที่อยู่ใต้ทะเล สาม ชมรมแม่บ้านจากนครศรีธรรมราชที่ทำถุงเชือกกล้วยขาย เราก็เลยเอามาทำถุงเชือกเป็นรูปหางปลาให้เป็นตัวแทนนางเงือก เพื่อให้นักท่องเที่ยวระลึกได้ว่า หาดสมิหลาคือตัวแทน Symbolic ของนางเงือก และสี่ การระบำนางเงือก หรือการนำดนตรีเข้ามาเชื่อมกับงานหัตถกรรม เพราะเราเชื่อว่าดนตรีเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้วย เราเลยจัดการแสดงระบำร็องเง็ง เป็นเหมือนการรำแฟลชม็อป ว่านี่คือโซนของนักดนตรีหรือโซนของนางรำเพื่อให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม การระบำรองเง็งจะมีอาจารย์จาก ม.ราชภัฏสงขลามาช่วยออกแบบท่ารำนางเงือกด้วย” รัฐอธิบายรัฐเสริมอีกว่า “ตรงนี้เราคิดว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ มันคือ ‘พลังของเรื่องเล่าและเรื่องราว’ เราเอาทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางธรรมชาติ มาแปรผ่านให้ตกไปถึงช่างหัตถกรรม ต่อมาเมื่อคนมาเที่ยวหาดสมิหลา คนก็จะเริ่มมองหานางเงือก ทั้งที่เมื่อก่อนคนอาจจะไม่เคยสังเกตเลยด้วยซ้ำ เราทำกิจกรรมเพื่ออยากให้คนสังเกตนางเงือกกันมากขึ้น หรืออยากให้คนฝึกเล่าเรื่องราวต่อกันได้ หรือคนเป็นเจ้าของธุรกิจมาเห็นก็อาจจะได้ไอเดียแล้วนำไปต่อยอดธุรกิจของตัวเองได้”ส่วนรายได้บางส่วนจากการร่วมมือกับช่างหัตถกรรมจะนำไปฟื้นฟูสระนางเงือก (แถวหน้าลานกิจกรรมใกล้กับร้านค้าที่หาดสมิหลา) ซึ่งว่ากันว่าบริเวณสระนางเงือกตรงนั้นคือลูกชายของนางเงือก และในอนาคต สัมผัสจะมีโปรเจกต์สร้างเครือข่ายจากชาวบ้านในพื้นที่ นั่นคือ ‘พี่เลี่ยม’ (กรรมการว่าวไทย) กับ ‘ลุงอ้อย’ ให้พวกเขาได้ทำงานกับคนในพื้นที่และต่อยอดความร่วมมือเพื่อหาทางกระจายรายได้ให้แก่ชาวบ้านNa Studio X meltdistrict : Songkhla in transition: The mid-Century FaçadeNa Studio ชวน Walking Tour ตามจุดต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองในย่านเมืองเก่าสงขลา และการจัดแสดงผลงานศิลปะจัดวางที่นำไอเดียจากอาคารในยุคโมเดิร์นของย่านเมืองเก่าสงขลา และการออกแบบเก้าอี้หรือผลิตภัณฑ์จากพลาสติกเหลือใช้ร่วมกับ meltdistrictหากย้อนกลับไป ‘นะ’ หรือ ‘Na Studio’ เกิดที่หาดใหญ่ แต่ไปโตที่กรุงเทพฯ แล้วไปเรียนต่อด้านออกแบบที่ต่างประเทศ ไม่นานก็กลับมาทำงานออกแบบที่เชียงใหม่เป็นหลัก ปัจจุบันทำสตูดิโอเป็นของตัวเองชื่อว่า Na Studio ที่รับออกแบบแบรนด์ดิ้ง งานกราฟิก แฟชั่นแบรนด์ ร้านอาหาร โรงแรม ฯลฯ และเป็นเจ้าของร้านอาหารดีไซน์สุดแซ่บอย่าง อีเกิ้งเซิ้งไฟ (e.gerng) เคยร่วมโปรเจกต์ Made in Songkhla กับร้านยินดีสงขลาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ปรากฏว่าหลังจากนั้นยอดขายทางร้านดีขึ้นด้วยความที่นะทำงานดีไซน์อยู่แล้ว เขาเลยหยิบจับซับเจกต์ในการทำงานดีไซน์ในย่านเมืองเก่าสงขลาที่รุ่มรวยไปด้วยงานสถาปัตยกรรมหลายรูปแบบ เพราะสถาปัตยกรรมมันเล่าเรื่องความเป็นมาของเมืองสงขลาได้ เลยกลายเป็นการนำเสนอสถาปัตยกรรมในย่านเมืองเก่าสงขลา ผ่านกิจกรรมพาชมสถาปัตยกรรมและจัดแสดงงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากตึกเก่าในย่านถ้าพูดถึงเมืองสงขลา คนอาจจะพูดถึง Gastronomy หรือเรื่องอาหาร แต่ถ้าเป็นเรื่องสถาปัตยกรรมคนยังไม่ค่อยพูดถึงซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว อีกทั้งตัวโปรเจกต์ที่ทำอยากพูดถึงเรื่อง Sustainability ด้วย เขาก็เลยทำงานศิลปะจัดวางในพื้นที่ (จัดแสดงที่ตรอกกรุงทอง ถนนนครนอก) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากตึกต่างๆ ที่นะชอบ ซึ่งเป็นการออกแบบช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในยุคนั้นมีงานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจหลายชิ้นในย่านเมืองเก่าสงขลา ซึ่งช่วงเวลานั้นสถาปัตยกรรมลักษณะนี้พึ่งเริ่มต้นในช่วงตะวันตก แต่ถูกหยิบมาสร้างเป็นตัวงานสถาปัตยกรรมแล้ว เขาเลยทึ่งกับงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้ที่สงขลาเป็นพิเศษ“ถ้าเป็นทัวร์ชมสถาปัตยกรรมตามยุโรปมักจัดเป็นทัวร์ตามจุดต่างๆ ตามย่านหรือมุมเมืองที่เกี่ยวข้องกับทางประวัติศาสตร์ของเมือง พูดถึงความรุ่มรวยหรือสภาพเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ ส่วนในเมืองเก่าสงขลาเราร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่นอย่างอาจารย์ปุ๊ ที่ครอบครัวของอาจารย์สร้างบ้านหรืออาคารมาแล้วสามชั่วอายุคน ก่อนที่จะมีตำแหน่ง สถาปนิก เข้ามาเสียอีก หนึ่งในตึกที่คุณพ่อของอาจารย์ปุ๊เป็นคนสร้างขึ้นมาจะอยู่บริเวณรอบๆ เมืองเก่าสงขลา เช่นร้านแต้เฮียงอิ๊ว ตึกหมออัมพร ร้านบลูสไมล์คาเฟ่“นอกจากงานศิลปะจัดวางที่มีรูปทรงเรขาคณิตที่ได้มาจากอาคารบ้านเรือนในย่านเมืองเก่าแล้ว หากทันสังเกต ผลงานของนะที่บริเวณหน้า a.e.y.space ก็มีเก้าอี้สีชมพูตัวกลมวางเรียงกันราว 3-4 ตัว ที่ดูกลืนไปกับหน้าสเปซและย่านนั้น ซึ่งนะบอกว่า เก้าอี้สีชมพูคือแมททีเรียลที่ทำมาจากขวดแชมพูซันซิล ที่นำไปผ่านเครื่องย่อยพลาสติกแล้วเอามาหลอมกันเป็นแผ่น ความพิเศษของเก้าอี้ตัวนี้คือถอดประกอบใหม่ได้ตามอำเภอใจ ทั้งงานศิลปะจัดวางรูปทรงเรขาคณิต เก้าอี้ หรือชิ้นงานอื่นๆ นะเลือกวัสดุพลาสติกจาก meltdistrict โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างสองสตูดิมาทำเป็นวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด ตั้งแต่ขยะในร้านต่างๆ ไปจนถึงขยะที่เก็บได้จากทะเล ผลงานชิ้นนี้จึงเป็นการพูดถึงเรื่อง ‘เมือง’ และเรื่องของ ‘ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ’ เพื่อบ่งบอกถึงการอยู่ร่วมกับเมืองและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันTrimode : NEIGHBORSด้วยความคุ้นเคยกับย่านเมืองเก่าและความผูกพันกับย่าน ในขณะที่กาลเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ไตรโหมดจึงเปลี่ยนย่านที่ผ่านกาลเวลาให้กลับมามีเสน่ห์อีกครั้งสำหรับทีมไตรโหมด (ภิรดา-ภารดี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และชินภานุ อธิชาธนบดี) เป็นทีมที่ทำงานด้านการออกแบบ ทั้งการออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบร้านอาหาร นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างจิวเวลรี่ โดยไตรโหมดจะมีวิธีการคิดงานจากคอนเซปต์ที่ กำหนดแนวทางการสื่อสาร คือใช้การมองแบบคอนเซปชวล (Conceptual) แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปสร้างคุณค่าผ่านการดีไซน์ ผลงานของทีมไตรโหมดจึงมีความคิดที่ละเอียดและละเมียด แม้กระทั่งวัสดุที่เขาเลือกใช้ในการออกแบบก็ใช้การตีความและวิเคราะห์ควบคู่ไปกับการนำผลงานไปใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมรวมถึงสภาพอากาศในพื้นที่นั้นๆ ด้วยNEIGHBORS เป็นการเล่าเรื่องเก้าอี้ของบ้านในย่านเมืองเก่าจำนวน 7 หลัง ให้เข้ากับบริบทของย่านบนพื้นที่สาธารณะอย่างถนนยะหริ่ง การใช้เก้าอี้เล่าเรื่อง เหมือนเป็นการเล่นคำว่า มีเก้าอี้ = มี Chairs ก็เท่ากับมีเรื่องที่จะอยากจะ Share หรืออยากจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าของบ้านซึ่งเป็นเจ้าของเก้าอี้เหล่านั้นพวกเขาบอกว่าอยากได้เก้าอี้ที่ใช้งานไม่ได้แล้วเพื่อนำมาซ่อมใหม่ ผ่านเทคนิคการมัดเงื่อนด้วยเชือกประมง งานที่ได้จะออกมาเป็นธรรมชาติและกลมกลืนไปกับเมืองเก่า เหตุที่พวกเขาเลือกเก้าอี้ที่ใช้งานไม่ได้ เพราะเข้ากับบริบททางสถาปัตยกรรม รู้สึกถึงความสมบูรณ์บางอย่างจากความไม่สมบูรณ์“เราได้โจทย์มาว่าต้องจัดงานในพื้นที่ Public Space เป็นการชุบชีวิตเก้าอี้ไปด้วย เราเลือกเก้าอี้จากร้านฮับเซ่ง ร้านแต้ ร้านโชติภัณฑ์ ร้านอ่องเฮียบฮวด House No.239 หับโห้หิ้น และ Nodething เพื่อให้คนในพื้นที่เชื่อมโยงด้วยกันผ่านเก้าอี้ เราคิดว่าการต้อนรับแขกต้องมีเก้าอี้ เราเลยเปรียบเมืองเก่าเป็นบ้านหลังหนึ่งที่มีเก้าอี้ไว้ต้อนรับแขก แต่เสน่ห์ของสงขลามีความเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกที่ไม่ใช่บริบทของเมืองจัดๆ เราอยากเก็บความรู้สึกตรงนี้ไว้ ซึ่งมันก็น่าจะดีถ้าคนในพื้นที่ได้แชร์เก้าอี้ด้วยกัน เหมือนให้คนในชุมชนช่วยกันรับแขกด้วย“สเปซหรือพื้นที่เราใช้วิธีการเลือกโดยที่เราคิดว่าสเปซตรงนั้นน่าจะไม่ไปรบกวนการใช้งานของคนในพื้นที่ เราพยายามหากันหลายจุด จนมาจบที่ถนนยะหริ่งซึ่งเป็นทางเท้าที่ชัดเจนและมีเก้าอี้เดิมตั้งอยู่ก่อนแล้วด้วย แถมตอนเย็นๆ จะมีเด็กๆ มานั่งเล่นกันแถวนั้น เพราะว่ามีเก้าอี้เด็กอยู่ตรงนั้น เมื่อดูสเปซก็พยายามอยากให้บริบทมันมีความหมายอยู่ การยืมเก้าอี้เขามาก็เหมือนกับการนำเอาวิถีชีวิตของเขามาเล่าต่อด้วย”สำหรับเรื่องของการตอบรับการใช้งานจากคนในพื้นที่ ไตรโหมดบอกว่าได้รับการตอบรับที่ดี พร้อมกับยื่นรูปของคนในพื้นที่ที่นั่งบนเก้าอี้ให้ดู แล้วก็พูดว่า “เก้าอี้พวกนี้มีการใช้งานจริงๆ”อีกอย่างพวกเขาอยากนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นในสงขลา โดยไปเจอวัสดุธรรมชาติอย่าง ‘ใยตาล’ เลยนำมาทำเป็นร่มคันใหญ่หรือโคมไฟ เหมือนเป็นการต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์ต่อไปไม่รู้จบ สอดคล้องกับคอนเซปต์ของไตรโหมดพอดิบพอดี“พอเราพลิกวิธีการแล้วดีไซน์ก็เป็นไปได้หลายรูปแบบ แต่เราก็มาดูว่าใยตาลมันตอบโจทย์เราหรือเปล่า ข้อดีคือวัตถุดิบนี้จะไม่ขึ้นรา เพราะขั้นตอนกว่าจะเป็นเส้นใยตาลที่ใช้ได้จริงก็จะยากเหมือนกัน เส้นใยตาลมันเลยแข็งแกร่งมาก พวกเราคิดว่าเหมาะกับงานภายนอก เลยเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย อย่างการเลือกสเตนเลสมาใช้ก็เพราะสงขลาอยู่ใกล้ทะเล ชิ้นงานจะไม่ขึ้นสนิม ทนแดดทนฝน““เราอยากให้คนเห็นศักยภาพของใยตาลว่า เหนียว ทนทาน เป็นสปริง เก้าอี้เห็นเหมือนเปลก็ทำให้เข้ากับความเป็นทะเล ซึ่งพัฒนามาจากเก้าอี้ชายหาด และการใช้ใยตาลเหมือนการผสานเก้าอี้เก่ากับเก้าอี้ใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่นั่ง ด้วยความเป็น Street Furniture เราเลยอยากให้มันดู Flexible ที่สุด เราคิดว่าโครงสร้างจะพัฒนาได้ในเรื่องของการนำสิ่งเหล่านี้ไปวางอยู่บนพื้นที่ได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มานั่งเล่นกัน”“เหมือนกับการต่อยอดของงานดีไซน์เพื่อไปในถึงชุมชนหรือเมือง ถ้าเริ่มจากเก้าอี้ ต่อไปเป็นไม้ แล้วก็กลายเป็นหิน และต่อยอดไปได้อีกหลากหลาย เราอยากให้งานดีไซน์กลมกลืนไปกับเมือง พอเราทำงานในพื้นที่ที่เป็น Public เราเป็นคนนอก เราก็อยากเคารพคนใช้งานในพื้นที่ อย่างการทำในสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ใหม่โดยใช้กระบวนการการดีไซน์เข้าไปจัดการมัน วิธีการคือ เราจะดูว่าสิ่งที่มีอยู่ใช้อะไรได้บ้าง แล้วจะใช้ยังไง เราก็เอาวิธีการนั้นไปนำเสนอและเชื่อมโยงกันว่าจะอยู่กันได้ยังไงกับคนในพื้นที่ และที่สำคัญ งานดีไซน์ของเราจะต้องไม่เป็นภาระต่อคนในเมือง” ทีมไตรโหมดเล่า หลังจากงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีคนี้ เก้าอี้บางตัวอาจจะยังคงวางไว้ที่ถนนยะหริ่ง ซึ่งเป็นผลงานการดีไซน์ของทีม Trimodeขอขอบคุณข้อมูลจาก : Na Studio | Trimode | Cloud-Floor และ Sumphat Gallery _#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก